แสงสีน้ำเงิน (Blue light) มีอันตราย ส่งผลกระทบต่อดวงตา

ตอบกระทู้

รูปแสดงอารมณ์
:icon_plusone: :like: :plusone: :gfb: :-D :) :( :-o 8O :? 8) :lol: :x :P :oops: :cry: :evil: :twisted: :roll: :wink: :!: :?: :idea: :arrow: :| :mrgreen: :angry: :baa: :biggrin:
รูปแสดงอารมณ์อื่นๆ

BBCode เปิด
[img] เปิด
[url] เปิด
[Smile icon] เปิด

กระทู้แนะนำ
   

มุมมองที่ขยายได้ กระทู้แนะนำ: แสงสีน้ำเงิน (Blue light) มีอันตราย ส่งผลกระทบต่อดวงตา

Re: แสงสีน้ำเงิน (Blue light) มีอันตราย ส่งผลกระทบต่อดวงตา

โดย Busba1122 » 19/11/2019 4:10 pm

อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

Re: แสงสีน้ำเงิน (Blue light) มีอันตราย ส่งผลกระทบต่อดวงตา

โดย LEG » 19/11/2019 10:11 am

เป็นประโยชน์มากครับ :like:

แสงสีน้ำเงิน (Blue light) มีอันตราย ส่งผลกระทบต่อดวงตา

โดย taemmynatchapon » 14/07/2018 6:48 pm

รูปภาพ


ทราบกันดีว่ารังสียูวีสามารถทำอันตรายต่อดวงตาและร่างกายมนุษย์ได้ เช่น โรคต้อต่างๆ มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ทั้งนี้เพราะรังสียูวีคุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้น แต่จะมีความถี่สูงทำให้มีพลังงานในตัวเองสูง ซึ่งเมื่อกระทบต่อเซลล์ร่างกายของมนุษย์จึงสามารถทำอันตรายได้ ส่วนแสงสีน้ำเงิน หรือ blue light นั้นส่วนใหญ่หมายถึงแสงที่มีช่วงความยาวคลื่น 400 – 500 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นต่อจากรังสียูวีนั้นเอง

1. คุณสมบัติของแสงสีน้ำเงินต่อความสามารถในการมองเห็น
แสงสีขาวมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่มีต่อวัสดุโปร่งแสงผิวโค้งเดียว เช่น กระจกตา คือแสงสีขาวจะกระจายออกตามลำดับความยาวคลื่นแสงในลักษณะเดียวกับการเดินทางผ่านปริซึมโปร่งแสงลักษณะเดียวกับแสงสีรุ้ง โดยที่แสงสีแดงที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าเมื่อโฟกัสผ่านเลนส์ผิวโค้งเดียวแล้วจะตกไกลกว่าแสงสีน้ำเงินที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า ดังนั้นเมื่อแสงสีขาวจากวัตถุหนึ่งเดินทางผ่านกระจกตาแล้วหักเหตกกระทบที่จอตา จะพบว่าแสงสีน้ำเงินจะตกด้านหน้าจอตา การที่แสงสีน้ำเงินโฟกัสแล้วตกหน้าจอตานั้นจะทำให้ภาพที่อยู่บนพื้นแสงสีน้ำเงินนั้นเบลอไม่ชัดได้ และการที่ภาพนั้นเบลอจะกระตุ้นทำให้ระบบการเพ่งต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

2. ผลของแสงสีน้ำเงินต่อนาฬิกาชีวิต
มีงานวิจัยที่พบว่าแสงที่ผ่านเข้าสู่จอตานั้นมีผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวิตเรา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเข้ม ระยะเวลาที่ได้รับแสงและช่วงความยาวคลื่นแสง ซึ่งพบว่าแสงที่ความยาวคลื่น 480 นาโนเมตรเป็นช่วงความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงินที่มีบทบาทต่อการกำหนดนาฬิกาชีวิตของมนุษย์มากกว่าแสงช่วงความยาวคลื่นอื่นๆ จึงเป็นแสงช่วงความยาวคลื่นที่ดีและจำเป็นต่อการดำเนินกิจวัตรประจำวันของเรา การได้รับหรือขาดแสงสีน้ำเงินช่วงความยาวคลื่น 480 นาโนเมตร อาจส่งผลรบกวนวงจรนาฬิกาชีวิตของเราทำให้ระบบการทำงานของร่างกายรวนผิดปกติได้ เช่น ภาวะนอนหลับยาก เป็นต้น

3. ผลของแสงสีน้ำเงินต่อเซลล์จอตา
แสงที่มีความยาวคลื่นต่ำจะมีความถี่สูง ซึ่งจะคลายพลังงานที่สูงให้กับวัตถุที่กระทบด้วยเช่นกัน เช่น รังสียูวี หรือแสงสีน้ำเงินช่วงความยาวคลื่นสั้น (400-450นาโนเมตร) จะมีความถี่และพลังงานสูง สามารถทำอันตรายต่อดวงตามนุษย์เราได้ แต่เนื่องจากกลไกในลูกตามีระบบป้องกันที่สมบูรณ์ เช่น ที่บริเวณจุดรับภาพชัดจะมีกลุ่มเซลล์เม็ดสีที่ชื่อ Xanthophylls ซึ่งทำหน้าที่ดูดกลืนรังสียูวีและแสงสีน้ำเงินไว้ ป้องกันอันตรายที่มีต่อเซลล์ของจอตาโดยเฉพาะในเด็กที่เซลล์จอตาจะยังไม่แข็งแรงดี แต่เมื่อโตขึ้นเซลล์จอตามีความแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว เซลล์กลุ่มนี้จะค่อยๆ ลดจำนวนลง ในขณะเดียวกันกับที่เลนส์แก้วตาจะเริ่มเสื่อมสภาพลง เลนส์จะขุ่นขึ้นซึ่งจะไปกรองรังสียูวีและแสงสีน้ำเงินแทน จนในที่สุดเลนส์แก้วตาก็เกิดเป็นต้อกระจกนั้นเองอันนี้เป็นกลไกปกติทั่วไป

4. แสงสีน้ำเงินต่อการมองเห็นสี
จอประสาทตามนุษย์จะมีเซลล์รับภาพที่เรียกว่า Photoreceptors ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ Rod และ Cone เซลล์ชนิด Cone จะทำหน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือการรับรู้สี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มเซลล์ชนิดย่อย 3 กลุ่มตามความสามารถในการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นต่างกันที่มาจากจากวัตถุ คือ Blue (420 นาโนเมตร) Green (530 นาโนเมตร) และ Red (560 นาโนเมตร) การที่ตาเรามองเห็นสีต่างๆ กันได้นั้นก็เกิดจากสัดส่วนของกลุ่มเซลล์ที่ผสมกันขึ้น โดยมี 3 แม่สีหลักคือ สีน้ำเงิน สีแดง และสีเขียว ดังนั้นถ้าเราใส่เลนส์ตัดแสงสีน้ำเงินออกทั้งหมด เซลล์ที่ชอบสีน้ำเงินก็มีสัดส่วนลดลงเมื่อไม่มีคลื่นแสงเข้ามาเมื่อเทียบกับสีอื่น ทำให้เซลล์สีแดงและเซลล์สีเขียวมีสัดส่วนที่มากขึ้นอย่างอัตโนมัติ จึงทำให้การมองเห็นสีของเราเพี้ยนไปได้

สรุปได้ว่าแสงสีน้ำเงินมีช่วงคลื่นยาวคลื่น 400 -500 นาโนเมตรนั้น ช่วงความยาวคลื่นที่มีอันตรายคือ 400 – 450 นาโนเมตร ซึ่งมีความถี่สูงและมีพลังงานมากเป็นอันตรายต่อดวงตามนุษย์ได้ แสงสีน้ำเงินช่วงนี้ทำให้ภาพที่เห็นไม่คมชัดดวงตาจะต้องทำงานหนักและล้ามากขึ้น และมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อและจอประสาทตาได้ ขณะที่ช่วงความยาวคลื่น 480 นาโนเมตรเป็นช่วงคลื่นที่ดีและมีบทบาทสูงต่อนาฬิกาชีวิตของมนุษย์ในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน การนอนและอารมณ์



ที่มา : เว็บไซต์ wichaioptic.com

ข้างบน