นักฟุตบอลเสียภาษีอย่างไรบ้าง?

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

taemmynatchapon
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 347
ลงทะเบียนเมื่อ: 08/06/2018 10:25 am

นักฟุตบอลเสียภาษีอย่างไรบ้าง?

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย taemmynatchapon »

รูปภาพ
  • จากกระแสฟุตบอลโลกที่เพิ่งผ่านไปนี้ ทุกคนอาจจะสงสัยว่าค่าจ้างนักฟุตบอลที่ได้รับนั้นจะเสียภาษีอย่างไรบ้างนั้นจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.102/2544 ได้
กล่าวไว้ดังนี้

สรุปคร่าวๆคือ
  • ทางสรรพากรบัญญัตินักฟุตบอลไว้เป็นนักแสดงสาธารณะ
"ข้อ 1 คำว่า "นักแสดงสาธารณะ" หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น นักแสดงละครเวที นักแสดงภาพยนตร์ นักแสดงละครวิทยุ นักแสดงละครโทรทัศน์ นักแสดงตลก นายแบบ นางแบบ นักพูดรายการทอล์คโชว์ นักมวยอาชีพ นักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น"


  • รายได้ที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมิน 40(8)
"ข้อ 2 การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของนักแสดงสาธารณะ ให้นำเงินได้ ของนักแสดงสาธารณะซึ่งเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร"


  • ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง

"นักแสดงสาธารณะตามวรรคสองและวรรคสามมีหน้าที่ยื่นรายการและชำระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไป ยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี โดยใช้แบบ ภ.ง.ด. 94

(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายใน เดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยใช้แบบ ภ.ง.ด. 90 ทั้งนี้ ให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ชำระไว้ตาม (1) มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษี"


  • เมื่อได้รับเงินหรือค่าจ้าง ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ของเงินที่จ่ายเพื่อนำส่งสรรพากร
"(ค) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่ง เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้จัดให้มีการ แสดงของนักแสดงสาธารณะที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศประกอบ กิจการในประเทศไทย โดยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้ง อยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหัก ภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งในอัตราร้อยละ 5.0 ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 12 ของคำสั่ง กรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528"


  • สิ้นปีต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของนักแสดงสาธารณะ สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือหักแบบเหมาก็ได้
"ข้อ 3 ในการเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของนักแสดงสาธารณะตามข้อ 2 ให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอม ให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ดังนี้

(1) หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือ

(2) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ดังนี้

(ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60

(ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40 การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ของ นักแสดงสาธารณะ ถ้าความเป็น สามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดใน การยื่นรายการและเสียภาษี โดยให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้ จ่ายตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง"

สามารถศึกษา คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.102/2544 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร : rd.go.th

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: Amazon [Bot] และบุคลทั่วไป 4