ระบบบัญชีเงินสดย่อย

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

Lamduan
PHP Hero Member
PHP Hero Member
โพสต์: 112
ลงทะเบียนเมื่อ: 23/07/2018 10:15 am

ระบบบัญชีเงินสดย่อย

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Lamduan »

ระบบเงินสดย่อย (Pretty cash)
[img]
เงินสดย่อย.jpg
เงินสดย่อย.jpg (70.39 KiB) Viewed 5439 times
[/img]

เงินสดย่อย คือ เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย) เพื่อกิจการจะได้มีไว้ใช้จ่าย สำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก
ระบบควบคุมภายในที่ดี กิจการไม่ค่อยนำเงินสดมาใช้จ่าย แต่การจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารโดยการเขียนเช็คสั่งจ่ายในนามผู้รับ และขีดคร่อมเช็คฉบับนั้น และโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ถือเงินสดย่อยไว้ในมือจำนวนมากๆ เหตุผลเพราะ
1.กิจการไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเก็บเงินสดไว้ในมือจำนวนมาก
2.การควบคุมเงินสดเป็นไปได้ง่ายขึ้น
3.กิจการจัดเก็บเอกสารและการบันทึกบัญชีจะมีระบบมากขึ้น
4.สามารถตรวจสอบได้ และใช้เป็นหลักฐานได้

เงินสดย่อยมี 2 ระบบ ดังน้ี คือ

1.ระบบเงินสดย่อยแบบจำกัดวงเงิน (Impress System) เป็นระบบที่นิยมใช้มากโดยกิจการจะกำหนดวงเงินสดย่อยขึ้นมาจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม และมอบให้ผู้รักษาเงินสดย่อยรับผิดชอบในการจ่ายค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งวงเงินสดย่อยจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะเมื่อมีการเพิ่มหรือลดวงเงินสดย่อย เท่านั้น
2.ระบบเงินสดย่อยแบบไม่จำกัดวงเงิน (Fluctuating System) เป็นวิธีการเกี่ยวกับเงินสดย่อย ที่ไม่ได้กำหนดวงเงินสดย่อยไว้เป็นจำนวนแน่นอนผู้รักษาเงินสดย่อยอาจขอเบิกเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับ, มากกว่าหรือน้อยกว่า เงินสดย่อยที่จ่ายไปได้ตลอดเวลา
ผู้รักษาเงินสดย่อย มีหน้าที่ดังนี้
1. เก็บรักษาเงินสดย่อยไว้ เมื่อมีผู้มาขอเบิกก็จะจ่ายเงินตามหลักฐานนั้น
2. บันทึกการจ่ายเงินในสมุดเงินสดย่อย เพื่อเป็นการบันทึกช่วยจำว่าได้จ่ายอะไรไปบ้าง
3. รวบรวมหลักฐานการจ่ายเงินและจัดทำใบสำคัญเพื่อขอเบิกชดเชยเงินสดย่อย

การจัดระบบเงินสดย่อย มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดตัวบุคคลที่มีหน้าที่รักษาเงินสดย่อย (ผู้ถือเงินสดย่อย) และกำหนดวงเงินสดย่อยที่มีจำนวนเหมาะสมไว้อย่างแน่นอน
2. การเบิกเงินสดย่อยทุกครั้ง ผู้เบิกเงินจะต้องมีใบขออนุมัติเบิกเงิน (ใบขอเบิกเงินสดย่อย)
3. ทุกครั้งที่จ่ายเงินสดย่อยต้องประทับตรา “จ่ายแล้ว” ในใบเบิกเงินสดย่อยและเอกสารประกอบทุกฉบับเพื่อป้องกันการนำเอกสารเหล่านั้นกลับมาขอเบิกอีก และให้ผู้เบิกเงินเซ็นชื่อไว้ในใบเบิกเงินสดย่อยด้วย
4. ต้องเก็บเงินสดย่อยแยกจากเงินอื่น โดยเฉพาะเงินสดส่วนตัวของผู้รักษาเงินสดย่อยและต้องกำหนดวิธีปฏิบัติให้ทราบทั่วกัน
5. ทุกครั้งที่มีการเบิกเงินชดเชย ต้องจัดทำใบสรุปการจ่ายเงินสดย่อยโดยแนบใบเบิกเงินสดย่อยและเอกสารประกอบอย่างครบถ้วนและถูกต้อง

ตัวอย่างใบเบิกเงินสดย่อย

[img]
ตัวอย่างใบเบิกเงินสดย่อย.png
ตัวอย่างใบเบิกเงินสดย่อย.png (13.28 KiB) Viewed 5439 times
[/img]

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 93