10 ทิป ลดและเสี่ยง สแปมเมล์

สอบถามเรื่องทั่วไป กับ การใช้คอมพิวเตอร์โดยทั่วไป แนะนำข่าวสารไวรัสคอม เทคนิคเล็กน้อยๆ กับ การใช้ คอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ฝากคำถามไว้ได้นะค่ะ

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

ภาพประจำตัวสมาชิก
nun
PHP Jr. Member
PHP Jr. Member
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 01/01/1970 7:00 am
ที่อยู่: กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ติดต่อ:

10 ทิป ลดและเสี่ยง สแปมเมล์

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย nun »

ใช้อี-เมล์แทบทุกคนจะต้องได้รับสแปมเมล์ ไม่ว่าจะเป็นเมล์ขายสินค้า โปรโมชันพิเศษ เรื่องตลกไร้สาระ จดหมายลูกโซ่ รหัสผ่านเข้าเว็บโป๊ ดาวน์โหลดวิดีโอฟรี หรือแม้แต่กระทั่งข้อเสนอขายอาวุธสงคราม ฯลฯ ซึ่งนับวันยิ่งทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ต่อไปนี้คือเทคนิคที่จะช่วยลดสแปมเมล์ในเมล์บ๊อกซ์ของคุณ

1. อย่าซี้ซั้วแจกอี-เมล์มั่ว
ไม่ควรกรอกอี-เมล์แอดเดรสลงในเว็บไซต์หรือแจกอี-เมล์ให้กับคนที่ไม่รู้จัก ในกรณีที่คุณต้องการสมัครใช้บริการออนไลน์ในเว็บไซต์ เช่น อ่านแมกกาซีนออนไลน์ฟรี ฟรีอี-เมล์ ฯลฯ คุณจะถูกถามและให้กรอกอี-เมล์แอดเดรส อย่ากรอกอี-เมล์แอดเดรสที่คุณต้องจ่ายค่าใช้บริการรายปีหรืออี-เมล์ที่เป็นส่วนตัวของคุณลงไปเด็ดขาด แนะนำให้ไปสมัครใช้บริการฟรีอี-เมล์อื่นๆ เช่น Hotmail, Yahoo และใช้อี-เมล์นี้ในการบอกรับการใช้บริการออนไลน์ทุกประเภท

2. อย่าตอบเมล์สแปม
อย่าเปิดดูข้อความในสแปมเมล์หรือตอบกลับโดยเด็ดขาด เพราะถ้าทำเช่นนั้นจะเท่ากับว่าคุณได้ทำการยืนยันกลับไปยังผู้ส่งสแปมว่าอี-เมล์แอดเดรสนี้มีอยู่จริงซึ่งผลลัพธ์ก็คือสแปมเมล์จะถูกส่งมาเรื่อยๆ และเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่คุณสงสัยว่าอี-เมล์ฉบับนั้นเป็นสแปมให้ทำการลบทิ้งทันที วิธีสังเกตสแปมเมล์ง่ายๆ ก็คือมักจะใช้หัวข้อที่เรียกร้องความสนใจในทำนองเช่น ?You have won the lottery? หรือ ?Free prize waiting for you? หรือ ?Re: Hello? อย่าหลงเปิดดูเป็นอันขาด นอกจากนี้ให้สังเกตดูอี-เมล์แอดเดรสของผู้ส่งด้วย หากไม่รู้จักชื่อหรือมาจากโดเมนแปลกๆ (ชื่อโดเมนคือชื่อที่อยู่หลังสัญลักษณ์ @ ในอี-เมล์แอดเดรส) ให้ฟันธงได้เลยว่าเป็นสแปมและทำการลบทิ้งทันที

3.ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่
อี-เมล์เรื่องโจ๊กที่ถูกส่งต่อๆ มาจากเพื่อนๆ และมีข้อความตอนท้ายในทำนองที่ว่า ?ส่งต่ออี-เมล์นี้ให้กับผู้รับอีก 10 คนแล้วคำอธิษฐานจะเป็นจริง? คุณเชื่อหรือไม่? ให้ลองสังเกตอี-เมล์เหล่านี้ดูแล้วจะพบว่ามีอี-เมล์แอดเดรสมากมายรวมกันอยู่ในส่วนต้นของอี-เมล์ ซึ่งคุณไม่มีวันรู้ได้เลยว่าหนึ่งในนั้นคือแอดเดรสของนักการตลาดหรือแฮกเกอร์หรือไม่ ดังนั้นแนะนำให้กลั้นใจคลิกปุ่ม Delete แทนที่จะคลิกปุ่ม Forward

4.สอบถาม ISP
หากคุณใช้บริการอี-เมล์ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ต่างๆ แนะนำให้สอบถามถึงมาตรการการป้องกันสแปมเมล์ด้วยว่ามีหรือไม่และสามารถป้องกันได้ดีแค่ไหน ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายจะมี ?Gateway Server? แยกต่างหากและมีโปรแกรมคอยสแกนอี-เมล์ทั้งเข้าและออก หากอี-เมล์ใดถูกสงสัยว่าเป็นสแปมจะถูกส่งต่อไปตรวจสอบหรือถูกลบทิ้งทันที เพียงเท่านี้มันก็ไม่สามารถเข้ามายังเมล์บ๊อกซ์ของคุณได้แล้ว

5.บล็อกผู้ส่ง
ในโปรแกรม Outlook Express จะมีออปชัน Block Sender ให้คุณใช้งาน ให้คุณคลิกเลือกที่อี-เมล์ที่คุณต้องการบล็อกไม่ให้เข้ามายังเมล์บ๊อกซ์ของคุณอีกแล้วคลิกเลือกเมนู Message -> Block sender จากนั้นอี-เมล์แอดเดรสดังกล่าวจะถูกเพิ่มเข้าไปในรายการบล็อก ซึ่งในครั้งต่อไปหากมีอี-เมล์ที่มาจากแอดเดรสที่ตรงกับในรายการบล็อก อี-เมล์ฉบับนั้นๆ จะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Deleted Messages โดยอัตโนมัติ ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบดูรายชื่อในรายการบล็อกของ Outlook Express ได้โดยคลิกที่เมนู Tools -> Message Rules -> Blocked Sender List

6.กรองเมล์ขยะ

ในโปรแกรม Outlook 2003 นั้นจะมีออปชันการทำงานมากมายเกี่ยวกับการจัดการอี-เมล์ชยะ โดยฟิลเตอร์กรองเมล์ขยะจะทำการย้ายข้อความที่สงสัยว่าจะเป็นเมล์ขยะไปยังโฟลเดอร์เฉพาะหรือลบมันทิ้งไป นอกจากนี้คุณยังสามารถสร้าง (แบล็ก) ลิสต์ของแอดเดรสที่ชัดเจนว่าเป็นสแปมหรือขยะได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างลิสต์ของแอดเดรสที่คุณรู้จักซึ่งโปรแกรมจะไม่สงสัยว่าเป็นขยะโดยเด็ดขาด เช่น อี-เมล์ของเพื่อนๆ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ โดยคุณสามารถเข้าถึงออปชันจัดการเมล์ขยะได้จากเมนู Actions -> Junk E-Mail -> Junk E-Mail Options

7.กำหนดกฏเกณฑ์
โดยปกติโปรแกรมจัดการอี-เมล์ส่วนใหญ่ (เช่น Outlook Express) จะมีฟังก์ชันกรองข้อความ (Message Filters หรือ Message Rules) ซึ่งคุณสามารถกำหนดกฏเกณฑ์ในการรับข้อความโดยให้ย้ายไปยังโฟลเดอร์อื่นๆ หรือทำการลบทิ้งโดยอัตโนมัติได้ ในบางครั้งหากคุณต้องการเก็บเมล์ขยะบางประเภทเอาไว้ (เช่น ข้อเสนอเรื่องการศึกษาและเรียนต่อ) ก็สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ให้โปรแกรมทำการย้ายเมล์ที่มีข้อความเกี่ยวกับการศึกษา (เช่น Educational, Study abroad) หรือแอดเดรสที่เกี่ยวข้องไปยังโฟลเดอร์แยกต่างหากได้ ซึ่งคุณสามารถเข้าถึงฟังก์ชันดังกล่าวได้โดยการคลิกที่เมนู Message -> Create Rule for Message (8)


8.ใช้ Safe & Blocked ให้เป็นประโยชน์
บริการออนไลน์ฟรีอี-เมล์เช่น Hotmail, Yahoo, Google ฯลฯ ปัจจุบันล้วนแล้วแต่มีระบบป้องกันสแปมให้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น Safe List และ Blocked List ซึ่งคุณสามารถเพิ่มเติมหรือลบรายชื่ออี-เมล์แอดเดรสออกจากลิสต์ทั้งสองได้อย่างอิสระ ในกรณีของ Blocked List ข้อความจะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Junk หรือ Bulk (ซึ่งจะถูกลบทิ้งโดยอัตโนมัติเมื่อถึงกำหนด) นอกจากนี้ผู้ให้บริการฟรีอี-เมล์ก็จะมี Master List ของบรรดาสแปมเมอร์เก็บไว้เช่นกัน หากมีอี-เมล์ไหนตรงกับลิสต์ก็จะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ Junk หรือ Bulk โดยอัตโนมัติทันที (9)

9.ใช้พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์
ในกรณีที่คุณมีสำนักงานเล็กๆ และใช้อี-เมล์เพื่อการติดต่อด้านธุรกิจ แนะนำให้ตั้งพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาโดยให้ติดตั้งซอฟต์แวร์ Anti-Spam และ Firewall เอาไว้ พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งซอฟต์แวร์สำหรับพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ (เช่น WinGate และ WinProxy) นั้นจะมีฟีเจอร์ป้องกันสแปมเมล์อยู่ในตัวที่สามารถเปรียบเทียบแอดเดรสที่อยู่ในลิสต์รายการ .?Safe? และ ?Black? ได้ โดยอี-เมล์ที่ถูกแบล็กลิสต์จะถูกลบออกจากพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์และหมดโอกาสเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายของคุณ (ข้อมูลเพิ่มเติม : www.wingate.com และ www.winproxy.com)

10.ใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันสแปม
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อต่อกรกับสแปมเมล์และสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมจัดการอี-เมล์ที่คุณใช้อยู่เป็นประจำ (เช่น Outlook Express) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการสแปมเมล์ที่สูงกว่าโดยจะทำการตรวจสอบอี-เมล์ทั้งที่ผ่านเข้ามาและถูกส่งออกไป ยกตัวอย่างโปรแกรมเช่น PixByte, AntiSpam Professional, Spam Inspector, Spam Monitor.

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 122