แนะนำตัวกลางในการสื่อสาร สื่อนำข้อมูลแบบใช้สาย (Wired Media : ไวร มีเดีย)

สอบถามเรื่องทั่วไป กับ การใช้คอมพิวเตอร์โดยทั่วไป แนะนำข่าวสารไวรัสคอม เทคนิคเล็กน้อยๆ กับ การใช้ คอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ฝากคำถามไว้ได้นะค่ะ

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

natnicha001
PHP Hero Member
PHP Hero Member
โพสต์: 120
ลงทะเบียนเมื่อ: 28/08/2017 10:14 am

แนะนำตัวกลางในการสื่อสาร สื่อนำข้อมูลแบบใช้สาย (Wired Media : ไวร มีเดีย)

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย natnicha001 »

ตัวกลางการสื่อสาร (communication media : คะมิวนิเคเชิน มีเดีย) การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายจำเป็นต้องมีตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล และเราควรเลือกใช้ตัวกลางในการสื่อสารให้เหมาะสมเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งาน และรวมถึงการลดต้นทุนเพราะเนื่องจากตัวกลางแต่ละตัวนั้นมีราคา และต้นทุนที่แตกต่างกันไปตามความสามารถของตัวกลาง ซึ่งตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลนั้นมี 2 รูปแบบ ได้แก่ สื่อนำข้อมูลแบบใช้สาย (Wired Media : ไวร มีเดีย) และสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media : ไวร มีเดีย)

1.สื่อนำข้อมูลแบบใช้สาย (Wired Media : ไวร มีเดีย)
1.1 สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable : ทวิสท-แพร์ เคเบิล) สายคู่บิดเกลียวเป็นสายที่ได้รับความนิยมใช้กันมาก ซึ่งสายประเภทนี้เป็นสายที่ประกอบด้วยทองแดงสองเส้นบิดเกลียวตพันกัน ซึ่งสายคู่บิดเกลียวจะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1.1.1 แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair : อันชิลด์ ทวิสท-แพร์) เป็นสายที่พบกันมากในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์โดยภายในประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวจำนวน 4 คู่ เป็นสายที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากมีราคาถูกกว่าสายชนิดอื่น และสามารถติดตั้งได้ง่าย แต่ความยาวในการเชื่อมต่อไม่ควรเกิน 100 เมตร สายแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) จะมีสายสัญญาณอยู่ทั้งหมด 4 คู่ 8 เส้น
ประกอบไปด้วย
- เขียว - ขาวเขียว
- ส้ม - ขาวส้ม
- น้ำเงิน - ขาวน้ำเงิน
- น้ำตาล - ขาวน้ำตาล
ข้อดี
-มีราคาถูก
-ติดตั้งง่ายเนื่องจากมีน้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่นสามารถโค้งงอได้ง่าย
ข้อเสีย
-ไม่เหมาะกับงานที่มีการเชื่อมต่อระยะไกลมาก เนื่องจากคุณภาพของสัญญาณจะถูกลดทอนไปตามระยะทาง
-เนื่องจากสายชนิดนี้ไม่มีฉนวนหุ้ม จึงอาจทำให้เกิดการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
16.png
16.png (80.05 KiB) Viewed 1134 times
1.1.2 แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair : ชิลด์ ทวิสท-แพร์) เป็นสายคู่พันเกลี่ยว แต่จะมีการหุ้มด้วยฉนวน (Shielded : ชิลด์) เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็ก ซึ่งพัฒนามาจากสายแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP)
ข้อดี
-สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าสายแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP)
-สามารถป้องกันคลื่นแม่เหล็กได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย
-มีราคาแพง
-ติดตั้งยากกว่าสายแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) เนื่องจากมีการโค้งงอของสายน้อยกว่า
17.png
17.png (35.85 KiB) Viewed 1134 times

1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable : โคแอกเชียล เคเบิล)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สายโคแอ็กซ์ (coax) สายโคแอกเชียลนิยมใช้กันมากในการนำสัญญาณโทรทัศน์ หรือระบบเคเบิลทีวี ซึ่งสายโคแอกเชียลมีค่าความต้านทานที่ 75 โอห์ม และ 50 โอห์ม ซึ่งส่วนมากนิยมใช้สายที่มีความต้านทานที่ 75 โอห์ม ซึ่งสายโคแอกเชียลมี 2 ชนิด คือ สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable : ธิน โคแอกเชียล เคเบิล) และสายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable : ธิค โคแอกเชียล เคเบิล)
โครงสร้างของสายโคแอกเชียลประกอบด้วย
1.สายทองแดงซึ่งเป็นแกนกลาง
2.ฟรอยด์หุ้มเพื่อกันสัญญาณรบกวน
3.สายนำสัญญาณกราวด์ มีลักษณะเป็นใยโลหะถัก
4.ฉนวน
ข้อดี
-มีราคาถูก
-ติดตั้งง่ายเนื่องจากสายโคแอกเชียลมีน้ำหนักเบา
-มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
ข้อเสีย
-ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
-มีการจำกัดระยะทางในการใช้สาย
18.png
18.png (53.31 KiB) Viewed 1134 times
1.3 ไฟเบอร์ออปติก(Fiber Optic Cable : ไฟเบอร์ออปติก เคเบิล) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สายใยแก้วนำแสง เป็นแก้ว หรือพลาสติกที่มีคุณภาพสูงซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ โดยใยแก้วนำแสงทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับ - ส่งข้อมูล และเมื่อนำสายประเภทนี้มาใช้ในการโทรคมนาคม ทำให้มีการรับ และส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และสายประเภทนี้สามารถป้องกันการรบกวนจากสัญญาญแม่เหล็กได้เป็นอย่างดีเนื่องจากใช้แสงเป็นตัวส่งข้อมูล จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในเครือข่าย WAN อีกด้วย
ข้อดี
-สามารถรับ และส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

-สามารถป้องกันคลื่นแม่เหล็กได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย
-มีราคาสูง
-ติดตั้งได้ยาก เนื่องจากการโค้งงอของสายสัญญาณทำได้ยาก
19.png
19.png (89.36 KiB) Viewed 1134 times
ภาพประกอบจาก : wikipedia.org
ภาพประกอบจาก : commons.wikimedia.org
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 42