ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการนำเข้าและส่งออก

Microsoft Office Knowledge Word, Excel, powerpoint, line , โปรแกรมเสริมต่างๆ

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

muneela
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 265
ลงทะเบียนเมื่อ: 27/08/2018 10:47 am

ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการนำเข้าและส่งออก

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย muneela »

ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการนำเข้าและส่งออก
Selection_003.png
Selection_003.png (40.67 KiB) Viewed 1495 times
อ้างอิงรูปภาพ https://is.gd/O6Kjib

เมื่อตกลงซื้อขายสินค้าแล้ว ผู้ขายสินค้าก็จะเริ่มผลิตให้คุณหรือจัดเตรียมสินค้าในโกดังให้พร้อมส่ง หลังจากสินค้าพร้อมแล้ว จึงเป็นขั้นตอนของการนำเข้าและส่งออกสินค้า ดังนี้

1. โรงงานผู้ขาย
จุดแรกของการขนส่งย่อมไม่พ้นผู้ขายหรือผู้ผลิต ซึ่งในจุดนี้ส่วนใหญ่เรามักจะเรียกมันว่า “หน้าโรงงาน” ในภาษาไทย หรือ Shipper ทั้งนี้ที่เรียกว่าโรงงานก็เพื่อความสะดวกในการเรียก ถึงแม้มันจะเป็นร้านเล็กๆ หรือโกดังเก็บสินค้าก็ตาม ส่วน Shipper นั้นจะใช้เวลาคุยกับชาวต่างชาติเพราะแปลตรงตัวว่าผู้ส่ง/ผู้ขาย ก็อนุมานกันได้ว่าที่ที่ต้องไปรับสินค้า หรืออาจจะเรียกว่า โรงงาน, โกดัง หรือ ร้าน ก็ตาม

2. ขนส่งในประเทศต้นทาง
เมื่อจ่ายค่าสินค้าและขนของขึ้นรถบรรทุกแล้ว การขนส่งทางรถเป็นการขนส่งหลักไปยังท่าเรือ/ท่าอากาศยานต่างๆ ช่วงนี้จะเรียกว่า Trucking, Pick-up, Inland หรือ Inland freight

3. การทำพิธีการศุลกากรขาออก
ในขั้นตอนนี้ผู้ขายหรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder) ที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้จะมีหน้าที่ในการสำแดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร(Customs House) ว่าสินค้าอะไรจะออกจากประเทศ จะเรียกว่า Outbound Customs Clearance

4. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง
เมื่อศุลกากรได้ตรวจปล่อยสินค้าแล้ว สินค้าก็จะได้รับอนุญาตให้เอาขึ้นเรือหรือเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้เพื่อขนส่งออกจากประเทศผู้ขาย ในจุดนี้เรียกว่า Port of Loading (POL)

5. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานปลายทาง
ตอนนี้สินค้าก็ได้เดินทางมาถึงยังประเทศของผู้ซื้อแล้ว จุดนี้เมื่อเรือหรือเครื่องบินจอดเทียบท่า สินค้าจะถูกลำเลียงเข้าโกดังไว้ รอให้ผู้ซื้อหรือตัวแทนออกของและศุลกากรมาตรวจปล่อยสินค้าต่อไปครับ ซึ่งเรียกว่า Port of Discharge(POD)

6. พิธีการศุลกากรสินค้าขาเข้า
เจ้าพนักงานศุลกากรจะมาตรวจสินค้าที่ผู้ซื้อนำเข้ามาว่าสินค้าที่คุณนำเข้ามาตรงกับที่ได้แจ้งกับกรมศุลกากรไว้หรือไม่ เสียภาษีตรงกับฐานภาษีที่กรมศุลกากรกำหนดหรือไม่ เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาอะไร เมื่อเรียบร้อยแล้วก็สามารถขนออกจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานได้ เรียกว่า Inbound Customs Clearance

7. ขนส่งจากท่าเรือ
สินค้าที่ตรวจปล่อยแล้วก็ขนไปยังผู้รับ การขนส่งทางรถในประเทศไทยนั้นมีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่ากระบะด้วย ข้อจำกัดสำคัญ คือ ในช่วงจราจรคับคั่งตอนพนักงานเข้างานและเลิกงานคือช่วงที่รถใหญ่ห้ามวิ่งในเขตเมือง

8. ผู้ซื้อ
ผู้ซื้อ(Consignee) ทำการรับสินค้า ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจขนส่งสินค้า ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะรับมอบสินค้า ผู้ซื้อที่ดีควรจะตรวจดูความเรียบร้อยของสินค้าก่อนทำการรับมอบทุกครั้งด้วย


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่ควรรู้ก่อนการนำเข้าและส่งออกสินค้า
ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมการส่งออกสินค้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: Majestic-12 [Bot] และบุคลทั่วไป 33