โครงสร้างการเขียนโปรแกรม ภาษาโปรแกรม

 

ก่อนเขียนโปรแกรม ผู้พัฒนาโปรแกรมจะต้องเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะนำมาช่วยงานโดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ในการทำงาน เช่น ลักษณะของปัญหา ความถนัดของนักเขียนโปรแกรม สภาพแวดล้อมในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันมีภาษาคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้ได้หลายภาษา เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาเดลฟาย ภาษา php (พีเอชพี) ภาษา Python (ไพทอน) ถึงแม้แต่ละภาษาจะมีรูปแบบและหลักการในการสร้างงานที่แตกต่างกันแต่ทุกภาษาจะต้องมีโครงสร้างควบคุมหลักทั้ง 3 แบบ ได้แก่ โครงสร้างแบบลำดับ sequential structure (ชิเคลวเทอ สตักเจอร์) โครงสร้างแบบทางเลือก selection structure (ซีเลคชัน สตักเจอ) และ โครงสร้างแบบวนซ้ำ repetition structure (รีเพคติชัน สตักเจอ)

1. โครงสร้างแบบลำดับ sequential structure (ชิเคลวเทอ สตักเจอร์)
     โครงสร้างที่ทำงานเป็นขั้นตอนเพื่อแก้ปัญหาจะทำงานตามคำสั่งที่เขียนไว้ตามลำดับ ตั้งแต่คำสั่งแรกไปจนถึงคำสั่งสุดท้าย โดยที่คำสั่งในที่นี้อาจเป็นคำสั่งเดี่ยว ๆ หรือเป็นคำสั่งเชิงซ้อนที่มีหลายคำสั่งย่อยประกอบกันในลักษณะเป็นโครงสร้างแบบทางเลือกหรือแบบวนซ้ำก็ได้

โครงสร้างแบบลำดับเมื่อเขียนเป็นผังงาน มีกระบวนการทำงานพื้นฐานอยู่ 3 ชนิด ได้แก่

     – การคำนวณ เป็นกระบวนการที่คอมพิวเตอร์ทำการคำนวณ ประมวลผล ซึ่งจะรวมไปถึงการกำหนดค่าให้กับตัวแปร เพื่อให้สามารถนำค่าของตัวแปรนั้นมาใช้ในภายหลังได้

     – การรับข้อมูลเข้า เป็นกระบวนการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เพื่อนำค่าไปกำหนดให้กับตัวแปร และเก็บไว้ในหน่วยความจำ

     – การส่งข้อมูลออก เป็นกระบวนการนำค่าของข้อมูลไปแสดงผลยังอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก เช่น จอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ข้อมูลที่จะส่งออกโดยทั่วไปจะเป็นค่าคงที่ หรือค่าของตัวแปร

ตัวอย่าง : การเขียนผังงาน

โครงสร้างแบบลำดับ sequential structure (ชิเคลวเทอ สตักเจอร์)
โครงสร้างแบบลำดับ sequential structure (ชิเคลวเทอ สตักเจอร์)

2. โครงสร้างแบบทางเลือก selection structure (ชิเลคชัน สตักเจอ)
     ปัญหาบางอย่างต้องการการตัดสินใจ เพื่อเลือกว่าจะใช้วิธีการใด โดยต้องมีการตรวจสอบว่าเงื่อนไขที่ใช้ในการตัดสินใจว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริงจะไปเลือกทำคำสั่งชุดหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเท็จจะไปเลือกทำคำสั่งอีกชุดหนึ่ง ซึ่งชุดคำสั่งเหล่านี้จะประกอบด้วยโครงสร้างแบบลำดับนั่นเอง

     โครงสร้างการทำงานแบบทางเลือกที่กล่าวมาแล้ว อาจเรียกว่ามีโครงสร้างการทำงานแบบ if…then…else… ซึ่งเป็นการเลือกทำแบบทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากต้องมีการเลือกทำชุดคำสั่งใดชุดคำสั่งหนึ่งตามผลของเงื่อนไข แต่ในการเขียนโปรแกรมหรือผังงานเพื่อแก้ปัญหา นักเขียนโปรแกรมอาจไม่ต้องการทำงานใด ๆ เมื่อผลของเงื่อนไขเป็นเท็จก็ได้ ซึ่งเรียกว่ามีโครงสร้างของการทำงานแบบเลือกทำเพียงทางเดียว หรือแบบ if…then…

ตัวอย่าง : การเขียนผังงาน

โครงสร้างแบบทางเลือก selection structure (ชิเลคชัน สตักเจอ)
โครงสร้างแบบทางเลือก selection structure (ชิเลคชัน สตักเจอ)

3. โครงสร้างแบบวนซ้ำ repetition structure (รีเพคติชัน สตักเจอ)
     ในการแก้ปัญหาบางอย่างอาจต้องมีการทำงานในบางคำสั่งหรือบางชุดของคำสั่งซ้ำกันมากกว่าหนึ่งรอบขึ้นไป โครงสร้างแบบมีการวนซ้ำนี้จะต้องมีการตัดสินใจร่วมกันอยู่ด้วยเสมอ เพื่อเป็นเงื่อนไขที่จะตัดสินใจว่าเมื่อใดจะวนซ้ำ หรือเมื่อใดจะถึงเวลาหยุดการวนซ้ำ การวนซ้ำแบบที่ต้องตรวจสอบเงื่อนไขที่จะให้วนซ้ำก่อนที่จะทำงานตามชุดคำสั่งในโครงสร้างแบบวนซ้ำ เรียกว่า การวนซ้ำแบบ while (ไว) ซึ่งจะสังเกตได้ว่าถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริงตั้งแต่แรก ตัวอย่างของการวนซ้ำ เช่น การรับค่าตัวเลขเข้ามาหลายค่าเพื่อคำนวณหาผลรวม
สิ่งที่ควรระวังในการใช้งานขั้นตอนวิธีแบบมีการวนซ้ำ คือ ต้องตรวจสอบว่าได้กำหนดเงื่อนไขอย่างรัดกุมและถูกต้อง มิเช่นนั้นแล้วอาจเกิดกรณีของการวนซ้ำไม่รู้จบ infinite loop (อินพิเนต ลูป) หรือกรณีที่วนซ้ำไม่ได้ตามจำนวนรอบที่ต้องการ

ตัวอย่าง : การเขียนผังงาน

โครงสร้างแบบวนซ้ำ repetition structure (รีเพคติชัน สตักเจอ)
โครงสร้างแบบวนซ้ำ repetition structure (รีเพคติชัน สตักเจอ)

 

อ้างอิง
wordpress.com

กระทู้ล่าสุดจากเว็บบอร์ด
หัวข้อกระทู้
ตอบ
เปิดดู
ล่าสุด
แนะนำการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม
โดย internTk21 จ 01 เม.ย. 2024 4:24 pm บอร์ด พูดคุยเรื่องทั่วไป จับฉ่าย
1
260
อ 02 เม.ย. 2024 9:44 am โดย internTk21 View Topic แนะนำการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม
การใช้ ActionChains ใน Selenium สำหรับจำลองการกระทำบนหน้าเว็บ
โดย athirach.offcial จ 01 เม.ย. 2024 12:25 pm บอร์ด Software testing
0
201
จ 01 เม.ย. 2024 12:25 pm โดย athirach.offcial View Topic การใช้ ActionChains ใน Selenium สำหรับจำลองการกระทำบนหน้าเว็บ
การทำงานกับ Cookies ใน Selenium
โดย athirach.offcial จ 01 เม.ย. 2024 12:03 pm บอร์ด Software testing
0
120
จ 01 เม.ย. 2024 12:03 pm โดย athirach.offcial View Topic การทำงานกับ Cookies ใน Selenium
การเขียน Selenium ให้แจ้งเตือน Message Error
โดย athirach.offcial จ 01 เม.ย. 2024 11:59 am บอร์ด Software testing
0
113
จ 01 เม.ย. 2024 11:59 am โดย athirach.offcial View Topic การเขียน Selenium ให้แจ้งเตือน Message Error
เครื่องมือที่ช่วยในการทำ Automated test ใน python
โดย athirach.offcial จ 01 เม.ย. 2024 11:51 am บอร์ด Software testing
0
110
จ 01 เม.ย. 2024 11:51 am โดย athirach.offcial View Topic เครื่องมือที่ช่วยในการทำ Automated test ใน python
selenium เวอร์ชั่น ปัจจุบัน เป็นเวอร์ชั่นที่เท่าไหร่
โดย athirach.offcial จ 01 เม.ย. 2024 11:39 am บอร์ด Software testing
0
87
จ 01 เม.ย. 2024 11:39 am โดย athirach.offcial View Topic selenium เวอร์ชั่น ปัจจุบัน เป็นเวอร์ชั่นที่เท่าไหร่
ปัจจัยที่ทำให้เกิด Spam score ในเว็บไซต์
โดย athirach.offcial จ 01 เม.ย. 2024 11:27 am บอร์ด Share Knowledge
0
151
จ 01 เม.ย. 2024 11:27 am โดย athirach.offcial View Topic ปัจจัยที่ทำให้เกิด Spam score ในเว็บไซต์
Dell Optiplex 980 ไม่รองรับแรม Rank แบบ Single Rank
โดย mindphp จ 01 เม.ย. 2024 1:55 am บอร์ด ถาม - ตอบ คอมพิวเตอร์
0
349
จ 01 เม.ย. 2024 1:55 am โดย mindphp View Topic Dell Optiplex 980 ไม่รองรับแรม Rank แบบ Single Rank