Core Layer (คอร์ เลเยอร์) คืออะไร
ชั้นนี้เป็นชั้นที่รองรับจุดเชื่อมต่อหลายๆ จุดจากชั้น Distribution layer (ดิสทริบิวชั่น เลเยอร์) โดยอุปกรณ์ในชั้นนี้ต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีการส่งข้อมูลเร็วมากๆ และต้องรองรับการรับ-ส่งข้อมูลจากชั้น Distribution (ดิสทริบิวชั่น) ได้ดี แต่ก็อย่างที่บอกมีบางกรณีที่อุปกรณ์ชั้น Distribution Layer และ Core Layer (คอร์ เลเยอร์) จะเป็นอุปกรณ์ตัวเดียวกัน
Core Layer เป็นจุดศูนย์กลางและหัวใจหลักของเน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่เชื่อมต่อ Distribution Layer หลายๆตัวจุดเข้าไว้ด้วยกัน เลเยอร์นี้ควรสามารถรับส่งแพ็คเกตได้อย่างรวดเร็วมาก อย่างไรดีในบางเน็ตเวิร์ก อุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์ Core Layer กับ Distribution Layer อาจเป็นตัวเดียวกันก็ได้คือมีสวิตช์ตัวหลักหนึ่งตัวที่ทำหน้าที่เป็น Core Switch และมีสวิตช์ปลายทางหลายๆตัวทำหน้าที่เป็น Access Switch (แอคเซส สวิทซ์)
ในการออกแบบระเครือข่าย ปกติเราจะได้ยิน คำว่า 3-Tier Architecture (3-ไทเออะ อาร์คิเทคเชอะ) นั่นก็คือการแบ่งเป็น 3 Layer ได้แก่ Core Layer, Aggregate หรือ Distributed Layer, และ Access Layer โดยการทำงานก็จะเป็นการกระจายการส่งผ่านข้อมูลย่อยลงไปแต่ละ Layer เช่น Access Layer ก็ส่งข้อมูลระหว่างกันเอง ถ้าหากว่า ต้องการส่งข้าม Access Layer ก็จะส่งหน้าที่มายัง Aggregate หรือ Distributed Layer เพื่อส่งข้ามกันระหว่าง Access Layer และถ้าหาก จะส่งข้าม Distributed Layer ก็ส่งต่อไปยัง Core Layer อีกทีเรียกการส่งข้อมูลแบบนี้ว่าเป็นแบบ North-South (นอธ-เซาธ์)หรือ บน ลงล่าง นั่นเอง โดยในอดีตนั้น การใช้งานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มักจะเป็นแบบ Client-Server (ไคเอ็น-เซิฟเวอร์) การออกแบบระบบเครือข่ายเราจึงนึกถึง 3-Tier Architecture นั่นเอง
Reference : en.wikipedia.org/wiki/Core_network
ภาพประกอบ : telecom-sp.blogspot.com