การให้สินสอดที่ปรากฏในในประมวล กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วย ครอบครัวในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดตามกฎหมายเก่ากล่าวคือ กฎหมายสะท้อนให้เห็นลักษณะของวัฒนธรรมและประเพณีการแต่งงานในยุคดั้งเดิมของ ไทยนั้น แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปแต่เรื่องการให้สินสอดก็ยังคงมีปรากฎในประเทศไทย ซึ่ง แตกต่างจากประเทศในภาคพื้นยุโรปหลายประเทศที่ในปัจจุบันที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายลักษณะเดียวกับสินสอด ตลอดจนไม่มีประเพณีการให้ค่าตอบแทนการสมรสเหมือนอย่างประเทศไทย ใน ขณะเดียวกันบางประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศบังกลาเทศ ประเทศอินเดีย ยังพบว่ามีประเพณี การให้ค่าตอบแทนการสมรสจากฝ่ายเจ้าสาวมอบทรัพย์สินให้แก่เจ้าบ่าว แม้ต่อมาในภายหลังจะมี กฎหมายต่อต้านระบบการให้สินสอด (Dowry) แล้ว แต่จากการยึดวัฒนธรรมประเพณีอย่างเข้มแข็งทำให้ยังพบว่ามีการให้ค่าตอบแทนการสมรสอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/25582 ศาลได้วินิจฉัยว่า การสมรส เป็นพฤติการณ์ที่ชาย และหญิงตกลงที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ความสมัครใจและความรักของทั้งสองฝ่ายที่จะอยู่ร่วมกันเป็นเหตุสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีวัฒนธรรมประเพณีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแต่ข้อที่ สำคัญ คือ กฎหมายไม่สามารถบังคับให้ชายหญิงอยู่ด้วยกันหรือบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสได้ กฎหมายลักษณะครอบครัวจึงถูกบัญญัติไว้เป็นพิเศษเพื่อใช้บังคับและแก้ปัญหา มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้น ให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา หากมีพฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ จะทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียก สินสอดคืนได้ การให้ค่าตอบแทนการสมรสในประเทศไทย เมื่อกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาในเรื่องการให้ค่าตอบแทนการสมรสในประเทศไทย หรือที่รู้จักกันว่าการให้สินสอดนั้น ได้มีความเห็นเป็น 2 ทาง คือ ฝ่ายที่เชื่อว่าเป็นประเพณีของไทยแต่โบราณ แต่ก็มีนักวิชาการด้านประเพณีบางคน เห็นว่าประเพณีการเรียกสินสอดสูงๆ นี้ ไม่ใช่ วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย หากประเพณีได้กลายไปเมื่อเกิดการนับถือเงินหรือบูชาเงินมากขึ้นใน สังคมไทย60 โดยลักษณะการให้สินสอดของไทยนั้น ฝ่ายชายเป็นผู้มอบทรัพย์สินให้แก่ฝ่ายหญิง ซึ่งได้มีการให้ความหมายของสินสอดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสาม
- กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสามความว่า สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่าย หญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส โดยกฎหมายมิได้กาหนดว่าสินสอดต้องให้เมื่อใด ตามประเพณีนิยมของไทยในสมัยโบราณนั้นสินสอดจะมีการนาไปพร้อมขันหมากแต่งในวันที่ จะสู่ขอเจ้าสาวแต่ในปัจจุบันนั้น มักมีการส่งมอบสินสอดในวันที่จัดงานหมั้นคราวเดียวกันไปเลย
วัตถุประสงค์ของสัญญาหมั้นและสัญญาสินสอด
สัญญาหมั้นเป็นการมอบของหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าชายจะมาสมรสกับหญิงในภายหน้า แต่สัญญาสินสอดเป็นการให้ทรัพย์สินเพื่อตอบ
แทนการที่หญิงยอมสมรสกับชาย ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันมาซึ่งผลทางกฎหมายของสัญญาหมั้นและสัญญาสินสอดที่ต่างกันทั้งในเรื่องคู่สัญญา ระยะเวลาการมอบทรัพย์สิน และเหตุแห่งการเรียกของหมั้น สินสอดคืนกล่าวโดยสรุปว่าสัญญาสินสอดเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษที่มิใช่สัญญาต่างตอบแทนในลักษณะเอกเทศสัญญาทั่วไปและมิใช่สัญญาให้โดยเสน่หาซึ่งเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน
สัญญาสินสอดนี้เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ด้านหนึ่งคือการโอนทรัพย์สิน และอีกด้านเป็นการตอบแทนที่หญิงยอมสมรส ซึ่งไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่แก่คู่สัญญาคือบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง ที่รับสินสอดแต่ประการใด สัญญาสินสอดจึงเป็นสัญญาที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1437 และบัญญัติผลไว้เป็นพิเศษอยู่แล้วจะน าหลักทั่วไปของสัญญาต่างตอบแทนหรือสัญญาให้โดยเสน่หามาปรับใช้ในเรื่องสัญญาสินสอดไม่ได้ และด้วยสัญญาหมั้นกับสัญญาสินสอดนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ดังนั้นสัญญาสินสอดจึงไม่ต้องพึ่งพิงการเกิดสัญญาหมั้นขึ้นก่อนแต่อย่างใด แม้สัญญาหมั้นไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุจากคู่สัญญาไม่ประสงค์ทำสัญญาหมั้น หรือเหตุจากการไม่ส่งมอบทรัพย์สินในขณะทำสัญญาหมั้น สัญญาสินสอดก็ย่อมเกิดขึ้นได้ตามข้อตกลงของคู่สัญญา
สัญญาสินสอดเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษที่มิใช่สัญญาต่างตอบแทนในลักษณะเอกเทศสัญญาทั่วไปและมิใช่สัญญาให้โดยเสน่หาซึ่งเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน สัญญา สินสอดนี้เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ด้านหนึ่งคือการโอนทรัพย์สิน และอีกด้านเป็นการตอบแทนที่ หญิงยอมสมรส ซึ่งไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่แก่คู่สัญญาคือบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ ผู้ปกครอง ที่รับสินสอดแต่ประการใด สัญญาสินสอดจึงเป็นสัญญาที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 1437 และบัญญัติผลไว้เป็นพิเศษอยู่แล้วจะนาหลักทั่วไปของสัญญาต่างตอบแทนหรือสัญญา ให้โดยเสน่หามาปรับใช้ในเรื่องสัญญาสินสอดไม่ได้ และด้วยสัญญาหมั้นกับสัญญาสินสอดนั้นมี วัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ดังนั้นสัญญาสินสอดจึงไม่ต้องพึ่งพิงการเกิดสัญญาหมั้นขึ้นก่อนแต่อย่างใด แม้สัญญาหมั้นไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุจากคู่สัญญาไม่ประสงค์ทำสัญญาหมั้น หรือเหตุจากการไม่ส่งมอบ ทรัพย์สินในขณะทาสัญญาหมั้น ถึงกระนั้นสัญญาสินสอดก็ย่อมเกิดขึ้นได้ตามข้อตกลงของคู่สัญญา
ข้อความอ้างอิง
โปรแกรมคำนวณค่าสินสอด ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.mindphp.com/forums/m_tools_dowry/index
"สินสอด" เป็นกรรมสิทธิของใคร ในทางกฎหมาย ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/997004
ให้สินสอดแล้วเอาคืน ทำได้หรือไม่ ไขข้อข้องใจ เรียกสินสอดคืนยังไงให้ถูกกฎหมาย ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://justhat.app/blogs/marriage-bride-price/