ลักษณะประชากรไทยกล่าวถึง ชนชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องด้วยประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยสถิติจำนวนประชากรไทยนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแหล่งอ้างอิงและวิธีการเก็บข้อมูล แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 66 ถึง 67 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจาก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งจะมีการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ ทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ ประเทศไทยมีประชากร 65,479,453 คน แบ่งเป็น ประชากรหญิง 33.4 ล้านคน (ร้อยละ 51.0) และชาย 32.1 ล้านคน (ร้อยละ 49.0) หรือคิดเป็นอัตราส่วนเพศ ชาย 96.2 คนต่อหญิง 100 คน เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย 62.3 ล้านคน (ร้อยละ 95.1) และผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยอีก 3.2 ล้านคน (ร้อยละ 4.9) ทั้งนี้ทั้งนั้น จากข้อมูลโดยสหประชาชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่สามในทวีปเอเชียที่โครงสร้างประชากรสูงอายุ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณสามารถเข้าไปที่ Google เเละค้นหา สำนักงานนโยบายเเละการขนส่งจราจร เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มีภาพรวมเเต่ละภาคเป็นอย่างไร
- ภาคกลาง
ภาคกลางเป็นภาคที่มีสถิติความหนาแน่นประชากรและสถิติรายได้ครัวเรือนต่อเดือนเฉลี่ยสูงสุดในประเทศ - ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกที่มีค่าเฉลี่ยราว 149 คนต่อตารางเมตร และ 26,755 บาทต่อเดือน จันทบุรี มีรายได้ครัวเรือนต่อเดือนสูงสุดของภาค - ภาคใต้ มีค่าเฉลี่ยรายได้ครัวเรือนต่อเดือนราว 25,819 บาทต่อเดือน
- ภาคตะวันตก
ภาคตะวันตก มีค่าเฉลี่ยรายได้ต่อเดือน 25,279 บาทต่อเดือน - ภาคอีสาน และ ภาคเหนือ มีค่าเฉลี่ยรายได้ครัวเรือนต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
สำหรับรายได้ครัวเรือนไทยตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติกำหนดประกอบไปด้วยเงิน หรือสิ่งของที่ครัวเรือนได้รับมาจากการทำงาน ผลิตเอง จากทรัพย์สิน หรือได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่นในแต่ละเดือน โดยรายได้ดังกล่าว เกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลักคือ
รายได้ที่เกิดจากการทำงาน ประกอบด้วย
- ค่าจ้างและเงินเดือน
- กำไรจากการทำธุรกิจ
- กำไรจากการทำการเกษตร
รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน ประกอบด้วย
- รายได้จากทรัพย์สิน ทั้ง รายได้จากค่าเช่าห้อง ค่าเช่าที่ดิน และดอกเบี้ยเงินฝาก
- รายได้ที่ได้รับไม่ประจำ ทั้ง ทุนการศึกษา และเงินจากการประกันสุขภาพ
- รายได้แหล่งอื่นเงินช่วยเหลือ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเงินจากโครงการคนละครึ่ง
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเมื่อคิดเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ครัวเรือนไทยมีรายได้ทั้งสิ้นสูงสุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากนโยบายการช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยแยกเป็นรายปี ดังนี้
ปี 2554
- รายได้ที่เกิดจากการทำงานอยู่ที่16,719 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานอยู่ที่ 6,517 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
ปี 2556
- รายได้ที่เกิดจากการทำงานอยู่ที่18,589 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานอยู่ที่ 6,605 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือนปี 2558
ปี 2558
- รายได้ที่เกิดจากการทำงานอยู่ที่19,650 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานอยู่ที่ 7,265 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
ปี 2560
- รายได้ที่เกิดจากการทำงานอยู่ที่19,359 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานอยู่ที่ 7,587 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
ปี 2562
- รายได้ที่เกิดจากการทำงานอยู่ที่18,493 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานอยู่ที่ 7,525 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
ปี 2564
- รายได้ที่เกิดจากการทำงานอยู่ที่18,888 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
- รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานอยู่ที่ 9,566 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
ปี 2565
- คาดว่ารายได้ต่อคนต่อครัวเรือนจะสูงขึ้น
คนไทยแต่ละจังหวัดมีรายได้ไม่เท่ากัน แตกต่างกันไปตามปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิประเทศในแต่ละท้องที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรัฐบาล โอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษา หรือแม้แต่ภัยธรรมชาติ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกิจฐานรากก็สำคัญ ในระยะต่อไปควรสนับสนุนให้มีการออกแบบมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ไม่มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจเข้ามา มีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น ที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างเหมาะสมเช่น การประกอบอาชีพ การบริหารจัดการด้านธุรกิจ การตลาด การบริหารจัดการชุมชน วิสาหกิจชุมชน และกิจการเพื่อสังคม เป็นต้น สนับสนุนทุนทางการเงิน ปัจจัยการผลิต และทุนทางสังคมเพื่อยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถเศรษฐกิจฐานราก การสนับสนุนช่องทางหรือแพลตฟอร์มตลาดในชุมชน ตลาดออนไลน์ และตลาดต่างประเทศเพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้การยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจ ฐานรากด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลคค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์
ข้อมูลอ้างอิง
โปรแกรมคำนวณค่าสินสอด ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.mindphp.com/forums/m_tools_dowry/index
รายได้ต่อหัวคนไทย ปี 2565 เพิ่มขึ้นไหม หนึ่งคนเฉลี่ยแล้วมีกี่บาท ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.thansettakij.com/economy/525364