การเริ่มต้นเป็นนักแปลฟรีแลนซ์จากศูนย์

ตอบกระทู้

รูปแสดงอารมณ์
:icon_plusone: :like: :plusone: :gfb: :-D :) :( :-o 8O :? 8) :lol: :x :P :oops: :cry: :evil: :twisted: :roll: :wink: :!: :?: :idea: :arrow: :| :mrgreen: :angry: :baa: :biggrin:
รูปแสดงอารมณ์อื่นๆ

BBCode เปิด
[img] เปิด
[url] เปิด
[Smile icon] เปิด

กระทู้แนะนำ
   

มุมมองที่ขยายได้ กระทู้แนะนำ: การเริ่มต้นเป็นนักแปลฟรีแลนซ์จากศูนย์

Re: การเริ่มต้นเป็นนักแปลฟรีแลนซ์จากศูนย์

โดย MiyukiEamrucksa » 04/09/2019 4:58 pm

- เพิ่มลิงก์ภายใน
- แก้ไขขนาดรูป

การเริ่มต้นเป็นนักแปลฟรีแลนซ์จากศูนย์

โดย MiyukiEamrucksa » 03/09/2019 4:14 pm

ในสายงานการแปลนั้นผู้ที่เริ่มแปลอาจจะยังไม่ทราบว่าการจ้างงานแปลนั้นเริ่มจากที่ไหน หรือต้องไปสมัครที่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักแปลฟรีแลนซ์ที่เพิ่งเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีเครือข่ายและความเข้าใจการรับงานจากตลาดงานแปลต่างๆ โดยในบทความนี้จะพูดถึงเว็บไซต์ต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นฝึกแปลไปจนถึงตลาดงานแปลระดับนานาชาติ
โดยสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มแปลและไม่มีประสบการณ์การ หรือไม่เคยเรียนมาก่อน อาจจะต้องเริ่มจากการฝึกแปลตามแพลตฟอร์มต่างๆเป็นประสบการณ์โดยที่ไม่คิดเงินก่อนก็ได้

รูปภาพ

โดยอาจเข้าไปขอแปลคอนเทนต์ต่างๆที่มีเปิดให้คนเข้าไปอาสาแปล เช่น เว็บไซต์อ่านการ์ตูน ยูทูปวิดีโอ หรือ แปลหนังสือง่ายๆ หรือหาคอนเทนต์ที่ตนเองสนใจมาแปลเพื่อเก็บไว้เป็นพอร์ตรวมถึงเพื่อให้เข้าใจระดับความสามารถและเวลาการทำงานของตนเองเพื่อนำมาปรับปรุงต่อไปได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่ได้เรียนสายภาษาและการแปลมาโดยตรง อาจจะลองเข้าคอร์สเรียนการแปลเพิ่มเติมตามสถาบันต่างๆได้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักทฤษฎีมากยิ่งขึ้นโดย ขั้นตอนนี้นอกจากจะเป็นการฝึกฝนและเก็บประสบการณ์แล้ว ยังสามารถช่วยให้เราสามารถหาแนวการแปลที่เราถนัดได้อีกด้วย เนื่องจากนักแปลแต่ละคนมีวิธีการและความถนัดแตกต่างกัน นักแปลบางคนอาจมีสไตล์การแปลที่เหมาะกับการแปลแนวไอที แต่นักแปลบางคนอาจจะเหมาะกับงานแปลซับไตเติล หรือการใช้สำนวนของนักแปลบางคนอาจจะเหมาะกับการแปลหนังสือ โดยหากนักแปลสามารถหาแนวการแปลที่ตนเองถนัดหรือสนใจได้เร็วก็จะมีประโยชน์ต่อการหางานหรือสมัครงาน นอกจากการเตรียมตัวในแง่ของทักษะการแปลแล้ว ยังต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์หรือ CAT toolsและ Machine Translatior อุปกรณ์ช่วยแปลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเนื่องจากลุกค้าบางรายหรือองค์กรบางองค์กร อาจมีโปรแกรมในการแปลที่แตกต่างกัน การศึกษาเรื่องซอฟต์แวร์การช่วยแปลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าทักษะการแปลเลย โดยโปรซอฟต์แวร์สำหรับการแปลยอดฮิตในอุตสาหกรรมการแปลนั้นมีหลากหลาย แต่ตัวที่น่าสนใจศึกษาไว้คือ โปรแกรม Trados

รูปภาพ

เมื่อผ่านการฝึกฝนทักษะและเก็บพอร์ตการแปลต่างๆได้เพียงพอแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการมองหางาน หากนักแปลสนใจงานแปลประจำหรือ In-house translator นักแปลก็สามารถมองหางานได้ตามเว็บไซต์สมัครงานทั่วไป หรือเว็บไซต์ของบริษัทแปลที่สนใจก็ได้ ซึ่งเมื่อบริษัทที่สนใจเปิดรับสมัคร โดยขั้นตอนการสมัครส่วนใหญ่จะผ่านกระบวนการทำแบบทดสอบงาน สัมภาษณ์งาน และเทรนงานตามปกติขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร แต่อย่างไรก็ตาม หากนักแปลสนใจเป็นนักแปลฟรีแลนซ์ อาจจะต้องใช้เวลาและความอดทนมากกว่าในการหาฐานลูกค้าและเครือข่ายต่างๆให้มั่นคง ถ้านักแปลยังมีประสบการณ์น้อย และยังไม่มีลูกค้าโดยตรงเป็นของตัวเอง แนะนำให้ลองเข้าเว็บไซต์ตลาดงานแปลฟรีแลนซ์ เช่น Upwork, Unbabel, TranslatorsTown, TranslatorBase, TRADUguide, ProZ, TranslatorCafe เนื่องจากเว็บเหล่านี้เป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือและมีงานแปลที่หลากหลาย มีเรทราคาที่ชัดเจน ถูกกฎหมาย เหมาะสำหรับการมองหางานที่ตนเองถนัด หรือยากทำได้ง่าย โดยในช่วงแรกหลังฝากประวัติก็อาจจะลองรับงานแปลเรทที่ถูกกว่านักแปลท่านอื่นหรือแปลโดยไม่คิดเงินก่อนเพื่อสร้างฐานลูกค้า สร้างเครดิต และแสดงความสามารถของตนเอง และเมื่อมีเครดิตที่เพียงพอแล้วก็จะมีลูกค้าที่เข้ามาเสนองานเพิ่มขึ้นรวมถึงสามารถคิดราคาตามเรทที่เหมาะสมกับตนเองได้

นอกเหนือจากเว็บไซต์เหล่านี้ก็ยังมีเอเจนซี่ต่างๆที่รับงานแปลและว่าจ้างนักแปลฟรีแลนซ์โดยหักค่าหัวคิว เช่น Local light, Kantana Post Production, IYUNO, Amazon, TransPerfect, SDL เป็นต้น การสมัครก็อาจไปรอดูที่เว็บไซต์ว่าประกาศรับสมัครนักแปลฟรีแลนซ์ตำแหน่งไหน คู่ภาษาอะไร และเป็นสายการแปลที่ตนถนัดหรือไม่ ขั้นตอนการสมัครโดยส่วนมากก็เป็นการส่ง Application Resume ทำบทดสอบและสัมภาษณ์ขึ้นอยู่กับบริษัทหรือองค์กร
ทริกที่สำคัญในการทำงานเป็นนักแปลฟรีแลนซ์คือ Specialization หรือสายงานแปลที่ถนัด เนื่องจาก งานแปลส่วนใหญ่มักมี Field of specialization ที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นก็มักจะต้องการนักแปลที่มีความถนัดเฉพาะใน field งานที่เฉพาะ นักแปลจึงควรเรียนรู้และหาสายงานแปลตามความถนัดของตนเองไว้ด้วยเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นการจ้างงานนั่นเอง
และหากเมื่อได้ฐานลูกค้าและเครือข่ายที่มั่นคงแล้วก็อย่าลืมรักษามาตรฐานการแปลและเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้คู่ภาษาใหม่ๆหรือเป็นการเรียนรู้สายงานการแปลเพิ่มเติม นอกจากนี้นักแปลที่ดี ควรเปิดรับข้อติชมและความคิดเห็นของลูกค้าและคนรอบตัวอยู่เสมอเพื่อให้เป็นนักแปลที่ไม่หยุดอยู่กับที่และก้าวทันโลกนั่นเอง


Reference links:
https://www.fluentin3months.com/how-to-become-a-location-independent-freelance-translator/
https://www.proz.com/business
https://es.wikipedia.org/wiki/Archivo:SDL_product_Trados_Studio_2015-02_(2).png
https://atasavvynewcomer.org/2017/11/14/how-to-break-into-translation-career-starting-from-scratch/

ข้างบน