ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน Exchange Rate

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

ภาพประจำตัวสมาชิก
birdkritsna
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 234
ลงทะเบียนเมื่อ: 16/09/2019 9:57 am

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน Exchange Rate

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย birdkritsna »

อัตราแลกเปลี่ยน ( Exchange Rate) คือ อัตราที่เปรียบเทียบค่าระหว่างสกุลเงินหนึ่งกับอีกสกุลเงินหนึ่ง ซึ่งค่าของเงินแต่ละประเทศนั้นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ หากเศรษฐกิจประเทศใดกำลังเจริญก้าวหน้า ประเทศมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ประชาชนอยู่ดีกินดี ไม่อดอยาก ค่าของเงินในประเทศนั้นก็จะสูง แต่หากประเทศใดประชาชนอยู่อย่างลำบาก เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ค่าของเงินก็จะถูกลงมา
222222.jpg
222222.jpg (137.22 KiB) Viewed 1336 times
ซึ่งราคาของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง องค์ประกอบหลักของอัตราแลกเปลี่ยนจึงมี 2 ส่วนคือ เงินสกุลท้องถิ่นกับเงินสกุลต่างประเทศ ซึ่งสามารถแสดงราคาได้ 2 ประเภท คือ แบบแรก ราคาเงินสกุลต่างประเทศที่แสดงเป็นเงินสกุลท้องถิ่น ส่วนแบบที่สองราคาเงินสกุลท้องถิ่นที่แสดงเป็นเงินสกุลต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ 1 ดอลลาร์เท่ากับเงินบาท 30 บาท ในทางกลับกัน เงิน 1 บาท เท่ากับเงิน 0.03 ดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนไม่ตายตัวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่มีผลต่อราคาของเงินแต่ละสกุล ได้แก่ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ และยังมีปัจจัยเรื่องความต้องการซื้อขายด้วย โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้

ผลของเงินเฟ้อที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน
ณ จุดเริ่มต้น ราคาเงินบาทกับเงินดอลลาร์ควรมีค่าเท่ากัน คือ เงินบาท 1 บาท แลกเงินดอลลาร์ ได้ 1 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 1:1
แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเกิดภาวะเงินเฟ้อส่งผลให้เงินบาทด้อยค่าลง จึงต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเป็นเงินสกุลดอลลาร์ ส่วนต่างของเงินเฟ้อระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จึงมีผลให้ค่าเงินของสองประเทศไม่เท่ากัน เงินเฟ้อยิ่งสูงและเฟ้อนานก็ยิ่งทำให้เงินด้อยค่าลงมาก เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันก็จะยิ่งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสูง เช่น เงินรูเปียะห์ อินโดนีเซีย ที่มีค่า 13,791 รูเปียะห์ ต่อ 1 ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561

ผลของอัตราดอกเบี้ยที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ยเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน เพราะอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะดึงให้เงินไหลเข้าประเทศ โดยธรรมชาติแล้วเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่ใดให้ผลตอบแทนสูง เงินระยะสั้นจะไหลไปที่นั้น ส่งผลให้เงินสกุลที่มีดอกเบี้ยสูงแข็งค่าขึ้น หากเงินไหลเข้าต่อเนื่องค่าเงินจะแข็งค่าค่อนข้างมาก

ผลของความต้องการซื้อขายที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน
นอกจากเงินระยะสั้นที่ไหลเข้ามาเพื่อผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยที่สูงแล้ว ไทยยังมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าจากการค้าขาย การส่งออกสินค้า และจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ
เงินที่ไหลเข้าประเทศในส่วนนี้มีผลต่อค่าเงินบาทอย่างไร คำตอบคือ การทำธุรกรรมในประเทศไทยต้องใช้เงินบาท เงินสกุลต่างประเทศที่ไหลเข้ามาต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท เมื่อมีความต้องการซื้อสินค้า (ซึ่งหมายถึงเงินบาท) จากผู้ส่งออก หรือนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ราคาเงินบาทจึงแพงขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น

นอกจากดอกเบี้ย เงินเฟ้อและความต้องการซื้อหรือขายมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อค่าเงินด้วย เช่น สถานการณ์การเมือง ดังนั้นค่าเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันทีและตลอดเวลา

สรุปกล่าวได้ว่า ค่าเงิน หรืออัตราแลกเปลี่ยน คือปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการการค้าและลงทุน ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ตลอดจนการติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และหาข้อมูลหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม จะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจที่ขยายกิจการไปต่างแดน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ต่างประเทศ สามารถปรับตัวเพื่อรักษาผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามที่ต้องการ และสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากค่าเงินได้ทันการณ์

โปรแกรมคำนวณอัตรแลกเปลี่ยน ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.mindphp.com/tools/tools_exc ... /index.php

References Links:
https://thaipublica.org/
https://www.finance-rumour.com/money/
LEG
PHP Hero Member
PHP Hero Member
โพสต์: 105
ลงทะเบียนเมื่อ: 12/07/2019 2:54 pm
ติดต่อ:

Re: ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน Exchange Rate

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย LEG »

:like:
ศูนย์รวมเครื่องวัดคุณภาพ https://legatool.com/
ผู้เชี่ยวชาญของตลาดเครื่องมือวัด อุปกรณ์ทดสอบ และชุดทดสอบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ตอบกลับโพส
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และบุคลทั่วไป 43