3 วิธีการคุม Budget ในระบบการสั่งจ้างผู้รับเหมา

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

sirirat
PHP Full Member
PHP Full Member
โพสต์: 47
ลงทะเบียนเมื่อ: 18/05/2020 10:25 am

3 วิธีการคุม Budget ในระบบการสั่งจ้างผู้รับเหมา

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย sirirat »

3 วิธีการคุม Budget ในระบบการสั่งจ้างผู้รับเหมา
ในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างต้องมีการสั่งจ้างงานต่างจากผู้รับเหมาที่มีความชำนาญเฉพาะทาง
หลายๆเจ้า การมี ERP มาช่วยในการเก็บข้อมูลการสั่งจ้าง และการทำเอกสารทำให้สะดวก
รวดเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าหน้างานอยู่ไกลๆกับบริษัท การทำเอกสารต่างๆ ก็จะรวดเร็ว
มากยิ่งขึ้น นอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว ยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

ระบบการสั่งจ้าง
เมื่อหน้างานมีการเปิดเอกสารขอจ้าง และได้ผ่านการอนุมัติมาจากหัวหน้างานเรียบร้อยแล้ว
ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างก็จะดึงเอกสารการขอจ้างมาเปิดสัญญาจ้างงานในระบบ โดยการจ้างงานนั้น
จะมีการคุม Budget 3 แบบ ด้วยกันคือ
1.คุมปริมาณ ใช้ในกรณีที่รู้ว่าจะต้องใช้วัสดุจำนวนเท่าไหร่ในการทำงานนั้น
ตัวอย่างเช่น ได้ทำการวัดพื้นที่ในการปูกระเบื้องแล้วทราบว่าต้องใช้กระเบื้องกี่แผ่นจึงได้คุมปริมาณการสั่งซื้อไป
messageImage_1566471777476.jpg
messageImage_1566471777476.jpg (1.58 KiB) Viewed 490 times
2.คุมจำนวนเงิน ใช้ในกรณีที่ไม่รู้ว่าต้องการของเท่าไหร่แต่ มีงบประมาณในจำนวนที่จำกัด
ตัวอย่างเช่น มีงบประมาณในจำนวนที่จำกัดจึงได้ทำการคุมงบประมาณการใช้จ่าไว้ ในการสั่งซื้อปูนซีเมน
messageImage_1566471768221.jpg
messageImage_1566471768221.jpg (1.56 KiB) Viewed 490 times
3.คุมทั้งจำนวนและปริมาณ ในกรณีนี้ใช้สำหรับงานที่ได้ทำการถอดแบบงานและประเมินราคา
และจำนวนไว้ค่อนข้างแน่นอนแล้ว จึงมีการคุมทั้งสองอย่าง
ตัวอย่างเช่น มีการถอดแบบงานห้องน้ำอย่างละเอียดและคำนวณจำนวนของที่ใช้ และราคาไว้แล้วค่อนข้างแน่นอนจึงคุมทั้งปริมาณและราคา
messageImage_1566471756619.jpg
messageImage_1566471756619.jpg (1.23 KiB) Viewed 490 times
นอกจากการคุม Budget ทั้ง 3 แบบแล้วยังมี feature ในระบบที่เป็นการควบคุมภายในที่ดี
-การเชื่อมโยงระหว่างเอกสารต้นทางปลายทาง
-การตั้งเงินมัดจำเบิกล่วงหน้า เพื่อดึงไปตั้งเงินมัดจำจ่าย
-การตั้งหักค่าใช้จ่ายผู้รับเหมา

การคุม Budget ในงานสั่งจ้างทำให้งบประมาณในการทำงานไม่บานปลาย และยังทำให้เกิดการวางแผนค่าใช้จ่ายในการทำงานได้เป็นอย่างดี
แล้วยังสามารถจัดการงบประมาณคงเหลือแล้วประเมินกับงานที่ทำเสร็จแล้วว่าได้ถึงเป้าหมายหรือไม่อย่างไร
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot], Google Adsense [Bot] และบุคลทั่วไป 33