หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายประกอบด้วยอะไรบ้าง

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

ภาพประจำตัวสมาชิก
Narisara
PHP VIP Members
PHP VIP Members
โพสต์: 20425
ลงทะเบียนเมื่อ: 24/05/2021 10:04 am

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายประกอบด้วยอะไรบ้าง

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Narisara »

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่าย โดยออกหลักฐานที่เรียกว่า “หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย” ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร บทความนี้เราสิ่งที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องมี

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
Accounting software & ERP โปรแกรมบัญชี ระบบอีอาร์พี-2.png (203.47 KiB) Viewed 1183 times

1. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีขอความด้านบนแค่ละฉบับดังนี้
1.1 ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกันแบบแสดงรายการ”
1.2 ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน”

2. ผู้ที่มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับไว้ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการออก “ใบแทน” หากฉบับจริงที่ออกให้ความการชำรุด หรือเกิดความเสียหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้การถ่ายเอกสารหรือพิมพ์เอกสารจากคอมพิวเตอร์ ในกรณที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้มีข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านบนเอกสารและผู้จัดทำต้องลงลายมือชื่อรับรอง

3. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องมีหมายเลขลำดับของหนังสือ และหมายเลขลำดับของเล่ม เว้นแต่ ไม่ได้ทำหนังสือรับรองจ่ายเล่ม จะไม่มีหมายเลขลำดับของเล่มก็ได้

4. ในการลงลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย จะใช้ตราประทับรายชื่อหรือคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (Scan) ก็ได้

5. สำหรับรายการของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะระบุเฉพาะประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย โดยไม่ระบุประเภทเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้

6. ผู้ที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และได้มีการหักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม โดยจะระบุจำนวนเงินได้ที่หักจากเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนในแต่ละปีภาษีในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้

7. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องเป็นภาษไทยหรือภาษาอังกฤษ หากเป็นภาษาอื่น จะต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ ส่วนตัวเลขให้ฝช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค

8. ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกำหนดเวลา ดังนี้
8.1 กรณีจ่ายเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน และจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำให้ออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีภาษีที่จ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในหะหว่างปีภาษี
8.2 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ให้ออกให้ทันที่ทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

จะเห็นได้ว่าหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายมีรายละเอียดมากมาย ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องทำตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ทั้งในเรื่องอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือ วิธีการคำนวณการหักภาษี โดยภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการหักจากผู้ที่รับเงิน โดยผู้ที่จ่ายเงินจะเป็นคนหัก ในตอนสิ้นปีผู้หักภาษีสามารถนำภาษีมาเครดิตเพื่อขอคืนภาษีได้

อ้างอิง
- ตำราการวางแผนภาษี
- https://www.mindphp.com/บทความ/31-ความรู้ทั่วไป/7453-withholding-tax-knowledge.html

อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/tax_pdf/withhold/approve_wh.pdf

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 38