ภ.ง.ด.53 คืออะไร

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

ภาพประจำตัวสมาชิก
Narisara
PHP VIP Members
PHP VIP Members
โพสต์: 20422
ลงทะเบียนเมื่อ: 24/05/2021 10:04 am

ภ.ง.ด.53 คืออะไร

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Narisara »

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงิน ส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยหากมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายกับบุคคลธรรมดาจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคล
ภ.ง.ด. 53
ภ.ง.ด. 53
Accounting software & ERP โปรแกรมบัญชี ระบบอีอาร์พี-1.png (73.97 KiB) Viewed 603 times
ภ.ง.ด.53 คือ แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้รับเงินจะเป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้

นิติบุคคล (Juristic Persons) คือ บุคคลตามกฎหมายที่กฎหมายสมมติขึ้น และรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่ สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งบุคคลธรรมดามีอยู่นั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น สิทธิในด้านครอบครัว สิทธิในทางการเมือง เป็นต้น

ประเภทเงินได้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด.53 ได้แก่
1. เงินได้ตามมาตรา 40 (2) – 40 (8) เช่น เงินได้จากค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่านายหน้า การให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน, อาคาร, เครื่องจักร, รถยนต์ เป็นต้น การประกอบวิชาชีพอิสระ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผล เป็นต้น

2. เงินได้จากมาตรา 40 (8) เฉพาะกรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่นๆที่นอกเหนือจากข้อ 1

3. เงินได้จากการประกันวินาศภัยเฉพาะกรณีที่จ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย

4. เงินได้จากการขนส่งซึ่งไม่รวมการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ

*** โดยผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นผู้ที่ประกอบกิจการในไทย ***

ผู้มีหน้าที่หักภาษีต้องทำอย่างไร

1. ขอข้อมูลผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ ชื่อที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

2. ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ในอัตราที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร (1,000 บาท)

3. จัดทำหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ที่ถูกหักภาษีทุกครั้งที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย

4. ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายยื่น ภ.ง.ด.53 พร้อมนำส่งภาษีที่หักไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย
หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย
Accounting software & ERP โปรแกรมบัญชี ระบบอีอาร์พี-2.png (79.47 KiB) Viewed 603 times

การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายมี 2 วิธีด้วยกันดังนี้

1. การยื่นแบบด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสาขาในท้องที่ที่ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่

2. การยื่นแบบและชำระภาษีทางออนไลน์ โดยเบื้องต้นผู้นำส่งต้องสมัครสมาชิกกับทางเว็บไซต์กรมสรรพากร ก่อน โดยการยื่นแบบจะได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน

ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อเป็นการบรรเทาการเสียภาษีของผู้รับเงิน โดยผู้รับเงินจะได้ไม่ต้องเสียภาษีในคราวเดียวกันจำนวนมาก

อ้างอิง
- https://www.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/wht_3_53_030260.pdf
- https://www.rd.go.th/7064.html
- https://peakaccount.com/blog/%E0%B8%A0%E0%B8%87%E0%B8%94-3%E0%B8%A0%E0%B8%87%E0%B8%94-53-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B7/

อ้างอิงภาพ
- https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/withhold/WHT53_041060.pdf

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และบุคลทั่วไป 39