การดูแลลูกค้า(customer) และ ผู้จำหน่ายสินค้า(supplier) ให้อยู่คู่ธุรกิจ

ถาม - ตอบ ธุรกิจ กฏหมาย ภาษี บัญชี ปัญหา การทำงานกับ บ. อื่น หรือบุคคลอื่น หรือ ภาษีต่างๆ กรมสรรพากร

Moderator: mindphp

nnamfon.26
PHP Super Hero Member
PHP Super Hero Member
โพสต์: 699
ลงทะเบียนเมื่อ: 21/10/2019 10:16 am

การดูแลลูกค้า(customer) และ ผู้จำหน่ายสินค้า(supplier) ให้อยู่คู่ธุรกิจ

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย nnamfon.26 »

ลูกค้า(customer) เป็นผู้บริโภค ผู้ใช้บริการ แก่ธุรกิจ ดังนั้นลูกค้าถือเป็นคนสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนธุรกิจ คิดแนวทางในการดำเนินธุรกิจว่าจะไปทิศทางไหน ลูกค้ามีหลายประเภท ซึ่งเราจะต้องดูแลและเอาใจใส่แต่ละประเภทให้อยู่คู่กับธุรกิจไปนานๆ เพื่อสร้างฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้น โดยมีหลายวิธีที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ ดังนี้
1. ธุรกิจควรผลิตสินค้าและบริการให้ดี มีคุณภาพ เป็นที่น่าสนใจ สามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการของลูกค้าแต่ละประเภให้มีประประสิทธิภาพและตั้งเป้าหมายของกลุ่มลูกค้าแต่ละประเภทไว้อย่างชัดเจน เพื่อประหยัดเวลาและเงินทุนในการค้นหาความต้องการของลูกค้า
2. การให้บริการ ควรดูแลลูกค้าให้เหมือนพระเจ้า เอาใจใส่ มีบริการหลังการขาย บำรุง ซ่อมแซมสินค้า คอยสอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขสินค้าและบริการภายในธุรกิจต่อไป
3. การประเมินการใช้บริการ เมื่อลูกค้าได้รับบริการแล้วต้องทราบความพึงพอใจในการใช้บริการ รับฟัง ตรวจสอบ แก้ไข สิ่งที่ลูกค้าเสนอมา เพื่อแสดงถึงการเอาใจใส่ ไม่ให้ธุรกิจอื่นแย่งลูกค้าไปจากธุรกิจเราได้
4. มีการจัดโปรโมชั่น ของแถม ส่วนลดราคา ในการซื้อ หรือใช้บริการต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบกันเกินไป
5. การนำโปรแกรมระบบ CRM มาใช้ในธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าและเพิ่มผลประโยชน์ระยะยาวให้แก่ลูกค้าได้รู้ โดยอาศัยฐานข้อมูลในจุดเดียวเชื่อมต่อภายในบริษัท

ผู้จำหน่าย(supplier) เป็นผู้ให้บริการแก่ธุรกิจ หากเราเลือกผู้จำหน่ายสินค้าที่ดีได้ก็จะเกิดประโยชน์แก่ธุรกิจเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ธุรกิจสามารถเลือกติดต่อซื้อขายกับบริษัทที่มีสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพดี ราคาประหยัด ก็จะส่งผลต่อต้นทุนและสามารถทำกำไรของบริษัทในการผลิตสินค้าและให้บริการได้ ดังนั้น ในการติดต่อซื้อขายกับผู้จำหน่าย เราต้องประพฤติตัวให้ดี เพื่อรักษาผู้จำหน่ายที่ดีแก่บริษัทนั้นๆ ดังนี้
1. ในการใช้บริการหรือซื้อสินค้า ควรสอบถาม พูดคุย ข้อตกลงที่มีต่อธุรกิจก่อน เพื่อความชัดเจนในการดำเนินงานต่างๆ เช่น เกิดกรณีเกิดการส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด การส่งสินค้าผิดพลาด สินค้าผิดปกติ เป็นต้น และถ้าเกิดเหตุแบบนั้นขึ้นจริงจะแก้ไข ปรับปรุงอย่างไร
2. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อผู้จำหน่าย เนื่องจากผู้จำหน่ายย่อมมีคำแนะนำอื่นๆ ในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจได้ เช่น หากสินค้าที่ไม่ได้ติดต่อกับผู้จำหน่ายนั้นโดยตรงแต่เกิดเสียหายขึ้นมา ธุรกิจสามารถขอคำปรึกษาจากผู้จำหน่ายได้ว่ามีสินค้าที่ตนต้องการหรือไม่ มีผู้จำหน่ายรายอื่นที่ผู้จำหน่ายรายอื่นสามารถติดต่อ บอกกล่าวได้หรือไม่ เป็นต้น แต่ถ้าหากไม่มีความสัมพันธ์อันดีแก่ผู้จำหน่าย ผู้จำหน่ายอาจนำไปบอกกล่าวกับผู้จำหน่ายรายอื่นได้ ส่งผลให้ไม่มีผู้จำหน่ายรายอื่นอยากร่วมค้าขายกับธุรกิจเราได้
3. ร่วมรับความเสี่ยงพร้อมกับผู้จำหน่าย หากเกิดเหตุผิดพลาดในระหว่างการได้รับสินค้าและบริการ ธุรกิจต้องทำข้อตกลงเพื่อร่วมรับความเสี่ยงกับผู้จำหน่าย แต่ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากนัก
4. การติดตั้งโปรแกรม Logistic ที่ครอบคลุมการทำงานเกี่ยวกับการให้บริการของผู้จัดจำหน่ายซึ่งสามารถดึงข้อมูลมาใช้ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ในการทำงานภายในบริษัทได้
รูปภาพ
อ้างอิง
https://blog.ourgreenfish.com/th/customer-persona-คืออะไร
https://www.logisticafe.com/2011/11/ซัพพลายเออร์-supplier-คืออะไร/
http://marketingthai.blogspot.com/2012/05/customers.html
https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/3-reason-you-never-get-your-truly-customer/
https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/factors-affecting-customer-loyalty.html

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 67