การสร้างใบชำระหนี้ของ Customer ในโปรแกรม OpenERP

ถาม - ตอบ ธุรกิจ กฏหมาย ภาษี บัญชี ปัญหา การทำงานกับ บ. อื่น หรือบุคคลอื่น หรือ ภาษีต่างๆ กรมสรรพากร

Moderator: mindphp

nnamfon.26
PHP Super Hero Member
PHP Super Hero Member
โพสต์: 699
ลงทะเบียนเมื่อ: 21/10/2019 10:16 am

การสร้างใบชำระหนี้ของ Customer ในโปรแกรม OpenERP

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย nnamfon.26 »

การสร้างใบชำระหนี้ของ Customerในโปรแกรม OpenERP
เมื่อเราได้รับเงินจากการที่ลูกค้าได้จ่ายชำระเงินตามใบแจ้งหนี้ที่ได้ส่งไปแล้ว หลังจากนั้นเราจะต้องมาทำการบันทึกจำนวนเงินที่ลูกค้าได้ทำการโอนมาให้ลงในระบบ
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ไปที่ Accounting > Customer payment > Create หลังจากนั้นเราจะได้แบบฟอร์มตามโปรแกรมมาเพื่อบันทึกข้อมูลของลูกค้า
1.png
2. ข้อมูลที่ต้องบันทึกมีดังนี้
2.png
2.1.png
1) Company Branch สาขาหรือสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้นๆ
2) Customer ชื่อลูกค้าที่ชำระเงิน
3) Paid Amount จำนวนเงินที่ได้รับหลังหักภาษีต่างๆเรียบร้อยแล้ว
4) Payment Method รูปแบบการจ่ายเงิน เช่น เงินสด,การโอนเงินผ่านธนาคาร เป็นต้น
5) Date วันที่ที่ลูกค้าจ่ายชำระ
6) Payment Ref เลขที่อ้างอิงใบจ่ายชำระหนี้ ซึ่งสังเกตจากหลักฐานการโอนเงินของลูกค้า
7) Memo การบันทึกอ้างอิงเอกสารจากระบบว่ามาจากที่ไหน เช่น เลขที่ใบinvoice
8 ) Header for Report ประเภทแบบฟอร์มที่เราต้องการ หากมีการคิดภาษีก็สามารถเลือกเป็น RECEIPT/TAX INVOICE ได้
9) Remark บันทึกให้บัญชีรับรู้ว่าเป็นค่าอะไร ต้องบันทึกในหมวดไหน
10) Payment Information รายละเอียดในการจ่ายเงิน ค่าอะไรเท่าไร จะแสดงตามใบ Header for report ที่เราเลือกได้

3.เมื่อใส่รายละเอียดการจ่ายเงินแล้ว เราต้องไม่ลืมใส่ ตัว Withholding tax ด้วย เนื่องจากเงินที่ได้รับมาจากลูกค้าจะเป็นยอดที่ลูกค้านำไปหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าไม่กรอกข้อมูลส่วนนี้ลงไป ตัวเลขที่ได้จะไม่ตรงกับยอดเงินที่ลูกค้าโอนมา
3.png
4.เมื่อเข้าไปยังข้อมูลจะต้องเลือกว่าบริษัทลูกค้าอยู่ในรูปแบบไหน PND.3 คือ ลูกค้าที่เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา PND.53 คือ ลูกค้าที่เสียภาษีแบบนิติบุคคล หลังจากนั้นก็ใส่รายละเอียดตรง Add an items
4.png
5.ตัวภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่โผล่ขึ้นมาก็จะเป็นดังรูป ซึ่งเราจะต้องทราบว่าบริษัทนี้ใช้ตัวไหน เมื่อกดแล้วโปรแกรมจะคำนวณภาษีที่ต้องหักออกมาให้และแสดงในหน้า Payment Information
4.1.png
6.หลังจากนั้นเราต้องมาใส่ยอดเงินหลังหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือก็คือเงินที่เราได้รับจากการชำระของลูกค้า ที่ Paid Amount ซึ่งเมื่อกด update โปรแกรมจะแสดงยอดเงินมาให้ทั้ง เงินที่ได้ก่อนหักภาษี และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ส่วน Difference amount จะเป็นส่วนต่างที่เกิดจากการใส่ค่าก่อนหัก ภาษี กับหลัง หัก ภาษี หากใส่ถูกต้องค่าที่ได้จะเป็น 0.00 แต่ถ้าใส่ผิด ตัวเลขตรงนี้ก็จะแสดงออกมา
5.png
7.เมื่อใส่ข้อมูลถูกต้อง กด Save และ กด Receive ได้เลยเพราะเราได้รับเงินแล้ว แต่ถ้าหากยังไม่ได้รับเงินก็ไม่ต้องกด Receive สถานะเอกสารจะกลายเป็น Open
6.png
8.หลังจากนั้นบัญชีจะทำการตรวจสอบอีกรอบเพื่อเช็คความถูกต้อง และ กด Validate ยืนยัน จะได้ใบ Receive ที่เป็นเลขตามระบบมาให้ เราสามารถปริ้นแบบฟอร์มใบเสร็จรับเงินโดย Show detail ให้ลูกค้าเห็น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการจ่ายเงินให้ลูกค้าได้
7.png
8.png
9.png
9.แบบฟอร์มก็จะแสดงให้เห็นชื่อบริษัทของเรา บริษัทลูกค้า เลขที่ผู้เสียภาษี เลขที่ใบชำระเงิน วันที่ได้รับเงิน รายละเอียดสินค้า จำนวนเงิน และลายเซ็นผู้เก็บเงิน ผู้รับมอบอำนาจตรงส่วนนี้จะเป็นลายเซ็นของบัญชีบริษัทเรา ซึ่งเอกสารจะแสดงใบเสร็จรับเงินเป็น 2 ใบ คือ ต้นฉบับและสำเนา ใบต้นฉบับจะส่งให้กับลูกค้า ส่วนใบสำเนาจะเก็บให้กับบัญชีไว้เป็นหลักฐานต่อไป
Capture.PNG
Capture.PNG (35.45 KiB) Viewed 1205 times
โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อบริษัทได้รับการชำระเงินจะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า เพื่อเป็นหลักฐานการยืนยันการจ่ายเงินและรับเงินของทั้ง 2 บริษัท
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 34