การใช้งานคำสั่งต่าง ๆ บน UNIX สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา

แชร์ความรู้ Linux Ubuntu Web Server บทความ การ config server Linux FreeBSD Apache
การติดตั้ง XAMPP Mysql PHP ใครต้องการแชร์ความรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ให้ ท่านหรืออื่น โพสที่หมวดนี้ได้

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

bom_002
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 443
ลงทะเบียนเมื่อ: 06/03/2017 10:51 am

การใช้งานคำสั่งต่าง ๆ บน UNIX สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย bom_002 »

บนระบบ Linux (ลีนุกซ์) มีคำสั่งใช้งานจำนวนมาก เรามาดูรายละเอียดคำสั่งบนระบบลีนุกซ์ที่ควรเรียนรู้กัน ว่ามีอะไรบ้าง

เปิดโปรแกรม Ctrl + Alt +T
u1.png
u1.png (9.31 KiB) Viewed 6096 times
จากตัวอย่าง จะเปิดจาก โปรแกรมจาก OS Ubuntu

คำสั่งที่ใช่บ่อย
clear เป็นการลบข้อความบนจอภาพ

date ใช้ในการแสดงวันที่ และเวลาปัจจุบัน

exit ออกจากโปรแกรม

ifconfig เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบอุปกรณ์ทางด้านเน็ตเวิร์ก

uname –a ใช้ในการแสดง ชื่อและรุ่นของ OS

cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux

history เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งใน Command line(คอมมานไล)

hostname คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่

ls เป็นคำสั่งแสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี่ที่เรามีอยู่

ls –l ป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี่ บอกสิทธิของผู้ใช้ของไฟล์หรือไดเร็คทอรี่นั้นๆ ว่าใครมีสิทธิ Read write exe และบอกวัน เวลาที่สร้าง ไฟล์นั้นขึ้นมา

nano เป็นคำสั่งในการ edit text file(อิดิสแทกไฟ) แก้ไขไฟล์ที่เป็นไฟล์ text โดย พิมพ์ nano เว้นวรรค แล้วตามด้วยชื่อไฟล์ที่ต้องการแก้ไข แล้ว enter(เอนเตอ) จะเข้าสู่หน้าจอดังรูปตัวอย่าง ให้เราทำการพิมพ์หรือแก้ไขข้อความที่เราต้องการ เมื่อเราต้องการเซฟ ให้กด ctrl + o และเมื่อต้องการจะออกจากการแก้ไขไฟล์นี้ กด ctrl + x

uptime เป็นคำสั่งใช้สำหรับแสดงรายละเอียดว่าเปิดเครื่องมานานเท่าไหร่ และดูอัตราการทำงานของ cpu(ชีพียู)

chsh เป็นการเปลี่ยน Shell(เชล) ให้ User(ยูเชอ)

useradd คำสั่งเพิ่ม User(ยูเซอ) ให้กับระบบ Unix,Linux ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser(แอดยูเซอ)

userdel คำสั่งลบ User(ยูเซอ) ออกจากระบบ Unix,Linux

Who แสดงชื่อ User(ยูเซอ) ที่กำลัง Login(ลอกอิน) เข้ามา

df เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์

/ หรือ root directory
.../bin เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บไฟล์คำสั่งทั่วๆไป

.../boot เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บไฟล์ที่ใช้ในการ boot(บูส) ระบบของ Ubuntu(ยูบันตู)

.../dev เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บ device file(ไดเรกทรอรี่ ไฟล์) ที่ใช้สำหรับการอ้างอิงไปยังอุปกรณ์ hardware ต่าง ๆ

.../etc เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บไฟล์ config(คอนฟิก) ต่าง ๆ

.../home เป็นไดเร็คทอรี่ home(โฮม) ของ user(ยูเชอ)

.../lib เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บไฟล์ libary(ไลบารี่) ต่าง ๆ

.../lost+found เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บ error(เออเรอ) ทั่วไปเกี่ยวกับ disk(ดิส)

.../media เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บ device file(ไดเวอ ไฟ) สำหรับอ้างอิงอุปกรณ์ media(มีเดีย)

.../proc เป็นไดเร็คทอที่ใช้เก็บรายละเอียดของ process(โปรเซส) ต่างๆที่ทำงานอยู่

.../sbin เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บไฟล์คำสั่งของผู้ดูแลระบบ

.../tmp เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บไฟล์ชั่วคราว

.../usr เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้ในการ setup(เชสอัพ) ระบบ

.../var เป็นไดเร็คทอรี่ที่ใช้เก็บไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด เช่น logfile(ล็อกไฟ) เป็นต้น

คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการไดเร็คทอรี่
- cd(change directory) เป็นคำสั่งที่เปลี่ยนไดเร็คทอรี่
ตัวอย่างการใช้งาน
cd
cd /etc
cd ..
cd -

- mkdir(make directoty) เป็นคำสั่งที่ใช้สร้างไดเร็คทอรี่
ตัวอย่างการใช้งาน
mkdir /var/spool/frox
mkdir /cow

- pwd (print working directory)
เป็นคำสั่งใช้แสดงไดเร็คทอรี่ที่กำลังใช้งานอยู่
ตัวอย่างการใช้งาน
pwd

- rmdir (remove directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ลบไดเร็คทอรี่
ตัวอย่างการใช้งาน
rmdir /tmp


คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ข้อมูล

- ls (list) เป็นคำสั่งใช้แสดงไฟล์ข้อมูลและไดเร็คทอรี่ย่อย
ตัวอย่างการใช้งาน
ls
ls -l
ls -lash

- cp (copy) เป็นคำสั่งใช้ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล
ตัวอย่างการใช้งาน
cp config.ini config.ini.backup
cp -R script /tmp/script

- mv (move) เป็นคำสั่งใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ข้อมูล
ตัวอย่างการใช้งาน
mv config.ini.backup config.ini.backup2

- rm (remove) เป็นคำสั่งใช้ในการลบไฟล์ข้อมูล
ตัวอย่างการใช้งาน
rm config.ini.backup2
rm -Rf /tmp/script

- tar
เป็นคำสั่งใช้ backup และ restore ข้อมูลต่าง ๆ
ตัวอย่างการใช้งาน
tar cvzf /home/multiwan multiwan.tar.gz
tar xvzf multiwan.tar.gz

คำสั่งเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล

สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลจะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับเจ้าของ Owner(โอเวเนอ) ระดับกลุ่ม Group(กรุป) ระดับบุคคลอื่น Other(โอเทอ)
สิทธิ์ในการกระทำกับข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระดับคือ อ่าน Read(รีด) เขียน Write(ไว) ประมวลผล Execute(เอกคิว)

คำสั่งที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์เหล่านี้ได้แก่
- chgrp (change group) เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์
ตัวอย่างการใช้งาน
chgrp root /home/multiwan

- chown (change owner)
เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์
ตัวอย่างการใช้งาน
chown nobody.nogroup /var/spool/frox

- chmod (change mode)
เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์
ตัวอย่างการใช้งาน
chmod +x makeconfig.sh



อ้างอิง
hadyaiinternet.com
:plusone:
ตอบกลับโพส
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 36