อาชีพโปรแกรมเมอร์ ทำเว็บ กับสุขภาพกายและจิตที่ดี

พูดคุยเรื่องทั่วไป จับฉ่าย โหลดโปรแกรม หมวดนี้มีโปรแกรมให้โหลด แนะนำโปรแกรม ให้โหลด โปรแกรม ฟรีต่างๆ แนะนำ ค้นหา ดาวน์โหลดไปใช้ได้จากที่นี่ พุดคุยเรื่องทั่วไปคลายเครียด

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

putcharaporn_tan
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 394
ลงทะเบียนเมื่อ: 04/08/2015 10:01 am
ติดต่อ:

อาชีพโปรแกรมเมอร์ ทำเว็บ กับสุขภาพกายและจิตที่ดี

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย putcharaporn_tan »

:arrow: :arrow: :arrow: ข้อแนะนำขั้นพื้นฐาน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจอาชีพโปรแกรมเมอร์เป็นอาชีพที่ต้องคิดตลอดเวลา ทีนี้แม้แต่วิธีคิดของโปรแกรมเมอร์เองก็ตามมีความแตกต่างกัน บางคนคิดแบบสปาเก็ตตี้ พูดง่ายๆ ว่าเวลาเขียนโค้ดเหมือนกับจับโน่นจับนี่ใส่เข้าไปตามคอมมอนเซ้นต์ แต่บางคนก็วางแผนเขียนโปรแกรมมี หนึ่ง สอง สาม ชัดเจน มีเป้าหมายชัดเจน เราต้องดูที่ตรงนั้นก่อนเลย

:arrow: ถ้าหากว่าวิธีเขียนโปรแกรมของเรามันเป็นไปในทางที่เรียงตามลำดับ มีเป้าหมายชัดเจน อันนั้นขอให้อุ่นใจไว้ได้ว่า วิธีการคิดแบบนั้นนำมาประยุกต์เข้ากับการเจริญสติได้แน่นอน แต่ถ้าหากว่าคุณเขียนโปรแกรมในลักษณะสปาเก็ตตี้โค้ด คือนึกอะไรออกก็จับใส่เข้าไปโดยไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เชื่อมั่นในฝีมือว่าเขียนด้วยความสามารถตัวเองได้ไม่ต้องวางแผน อันนี้จะเป็นตัวบั่นทอนสติในขั้นตอนของการทำงาน

:arrow: วิธีคิดในการทำงานที่มีระเบียบมีระบบชัดเจนจะเป็นเหตุพื้นฐานของสติ ไม่ว่าระหว่างวันคุณจะมีความคิดซับซ้อนหรือมีความครุ่นคิดเป็นพายุสมองอะไรก็แล้วแต่ ในที่สุดแล้วคุณจะรู้สึกถึงความมีต้นมีปลาย มีระเบียบ มีลำดับชัดเจน

:arrow: แต่ถ้าหากวิธีคิดในการทำงานของคุณ เป็นไปในแบบที่ว่าไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า ระบบของจิตใจมันจะซัดไปส่ายมา มันจะฟุ้งไปทางโน้นทีมาทางนี้ที หรือบางทีคิดกลับไปกลับมาได้ มีความไม่ชัดเจนมีความไม่แน่นอนได้

:arrow: ขั้นต้นแรกสุดเลย ข้อแรกสรุปได้ก็คือว่า สำรวจวิธีการทำงานของตัวเองว่าระบบความคิดเป็นอย่างไรอยู่ อันที่สองต้องเข้าใจว่าต่อให้มีระบบความคิดที่ดีแล้ว มีความชัดเจนมากพอแล้ว ถ้าหากคิดไม่หยุดไม่มีช่วงเวลาพักบ้าง ไม่มีเวลายืดเส้นยืดสายบ้าง พายุความคิดก็จะก่อตัวอย่างรุนแรงแล้วก็ยากที่จะสงบได้อยู่ดี มันจะเหมือนกับมีอะไรดิ้นอยู่ในหัว จะนอนก็นอนไม่หลับ มันจะรู้สึกตาแข็ง ถ้าคิดทั้งวัน

:arrow: เพราะฉะนั้นสำหรับคำแนะนำข้อสองก็คือ โปรแกรมเมอร์ทุกคนควรจะพักทุกครึ่งชั่วโมงหรือบ่อยกว่านั้น พักในที่นี้คือพักสายตาแล้วก็พักอารมณ์ คือให้ใจมีช่วงเว้นวรรคบ้าง ออกไปเดินหรือออกไปวิ่งเหยาะๆ หรือถ้ามีโอกาสทำงานที่บ้าน อาจจะเล่นเครื่องออกกำลังหรือเอาเวทไปวางไว้ข้างๆ โต๊ะทำงาน พอรู้สึกเครียดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็เล่นเวท การผ่อนคลายร่างกายให้รีแล๊กซ์มันช่วยได้

:arrow: แล้วก็เอาใจไปอยู่กับสิ่งอื่นที่มันเป็นประโยชน์กับจิตใจ เช่น ระลึกถึงลมหายใจบ่อยๆ เดี๋ยวมันก็เข้า เดี๋ยวมันก็ออก แค่นี้มีประโยชน์มากเลย อย่างเราระหว่างที่นั่งเขียนโปรแกรมไป บางคนพอฝึกจนชำนาญแล้วมันสามารถใช้ในระหว่างทำงานได้เลย พอเขียนไปแล้วคิดไม่ออกเรานึกถึงว่าขณะนี้กำลังหายใจเข้าอยู่ หรือหายใจออกอยู่ หรือตั้งใจหายใจเข้ายาวๆแล้วผ่อนลมหายใจออกด้วยการเป่าปากออกยาวๆ จะรู้สึกดีขึ้นทันที

:arrow: การที่เรามีจังหวะเว้นพักบ่อยๆ มันมีส่วนสำคัญมาก ถ้าคุณพักเป็นคุณพักเก่งๆ ทำงานไปด้วยพักไปด้วย แค่นั้นพายุสมองก็ลดระดับลงแล้ว ความรู้สึกที่คิดสับไปสับมา หรือว่าความรู้สึกซัดส่ายต่างๆมันจะกลายมาเป็นความรู้สึกที่ดีความรู้สึกสบายใจ ความรู้สึกโล่งขึ้นมาในระดับหนึ่ง

ข้อสามคือทำอย่างไรถึงจะมีสติเอาสติมาปรับใช้กับความเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ อันนี้ก็ขอให้ฝึกจิตนิดนึง ตั้งใจเลยว่าการเขียนโปรแกรมของเราจะเป็นอันเดียวกันกับการฝึกจิตให้มีคุณภาพ

วิธีที่จะทำจิตให้มีคุณภาพก็คือ คุณจะต้องระลึกไว้ 5 ข้อ

:mrgreen: 1.จะต้องไม่มีความโลภ ไม่มีความทะยาน ไม่มีใจที่มีอาการยื่นออกไปเกินกว่าโปรแกรมตรงหน้า อย่าหวังผลอย่าเร่งรัดจะต้องเสร็จให้ได้เร็วๆ คือต้องวางแผนให้ได้ดีๆ เราจะต้องมีเวลาเหลือเฟือพอที่จะทำงานตรงนี้ให้เสร็จ คือต่อให้โดนเจ้านายเร่งอะไรมาก็แล้วแต่ คุณจะต้องแบ่งเวลาให้ถูก มีความสบายใจมากพอ แล้วก็ไม่หวังผลว่าเราจะได้เงินเท่านั้นเท่านี้ ถ้าหากว่าความโลภอยู่ในใจ การทำงานของคุณจะเป็นการทะยานหรือว่าการวิ่งออกไปข้างนอกเสมอ

:mrgreen: 2.ระวังเรื่องความหงุดหงิดโดยเฉพาะ โปรแกรมเมอร์พอเขียนโปรแกรมไม่ได้ดั่งใจหรือว่าคิดไม่ออก มันจะมีความรู้สึกฮึดฮัด แล้วก็เกิดความรู้สึกเหมือนมีอะไรทิ่มแทงตัวเองอยู่ บางทีดูถูกตัวเองว่าแค่นี้ทำไมคิดไม่ออก มันสารพัดเลยแหละที่จะเกิดความรู้สึกขัดเคืองขึ้นมาในระหว่างทำงาน

วิธีก็คือ ถ้าหากเกิดความขัดเคือง ให้ดูให้เป็นว่าความขัดเคืองนั้นมันเกิดขึ้นมาจากความไม่ได้ดั่งใจ หรือว่าจะมีเหตุอื่นอันเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมอะไรก็แล้วแต่ ถ้าทำให้ขัดเคืองต้องดูให้เป็น เพราะถ้าดูไม่เป็นมันจะกลายเป็นไฟกองใหญ่ จากกองเล็กขัดเคืองเล็กๆ พอทำหลายวันหลายเดือนหรือเป็นปีจะกลายเป็นไฟกองใหญ่ คือจะติดนิสัยทำงานด้วยความหงุดหงิดไป

เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าเราดูตัวเองเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เกิดความขัดเคืองขึ้นมาเมื่อไหร่ เห็นแล้วจะรู้สึกว่ามันก็แค่ความขัดเคือง ไอ้นี่ส่วนเกินของคุณภาพจิต ไอ้นี่ส่วนที่จะทำให้คุณภาพจิตมันถูกบั่นทอนลง เราก็จะสงบลงทันที เพราะมันเห็นโทษแล้วก็เห็นประโยชน์ของการทำงานที่สงบจากความหงุดหงิด

:arrow: 3.คือ เราจะต้องดูว่าความรู้สึกหดหู่ ซึมเซา หรือว่าง่วงเหงาหาวนอน โปรแกรมเมอร์ที่แอ๊คทีฟมากๆส่วนใหญ่จะไม่หดหู่ จะไม่เซื่องซึม แต่ว่าถ้าอดนอน ตอนแรกก็ไม่เห็นอะไรหรอก แต่พอนานปีไป โปรแกรมเมอร์ที่อายุเลยเลข 3 ขึ้นไปจะเห็นเลยว่า การเขียนโปรแกรมแบบอดตาหลับขับตานอนมีผลให้ตื่นเช้าขึ้นมาแบบเซ็งๆ ไม่อยากตื่น มีความหดหู่ซึมเซา ตรงนี้จำเป็นมาก คุณจะต้องมีวินัยแก่ตัวเองเพื่อที่จะทำงานอย่างมีคุณภาพ คุณต้องควบคุมตัวเองให้นอนแต่หัวค่ำก่อนเที่ยงคืนและตื่นเช้า สมองมันถึงจะปลอดโปร่งในระยะยาว ไม่เกิดความหดหู่ไม่เกิดความเซื่องซึม

ต้องออกกำลังกายด้วยเพราะโปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าตัวเองแข็งแรงยิ่งช่วงที่มีอาการเหมือนจิตตื่นมากๆ คือมันมีความตื่นเต้นในการทำงานมากๆ จะรู้สึกราวกับว่าตัวเองแข็งแรง แต่ที่แท้แล้วถ้าหากร่างกายถูกโหมใช้ไปมากๆ มันจะอ่อนแอลง แล้วความอ่อนแอนั่นแหละที่จะบีบให้จิตเกิดความซึมเซา


:arrow: 4.ตัวที่จะบั่นทอนคุณภาพจิตก็คือความฟุ้งซ่านรำคาญใจไม่ได้หมายถึงเฉพาะในการทำงานโปรแกรมเมอร์อย่างเดียว แต่ในชีวิตประจำวันด้วย ถ้าหากคุณเขียนโปรแกรมไปคุณจะพบว่าช่วงที่เขียนไม่ออกหรือช่วงที่กำลังรู้สึกเบื่อๆไม่อยากเขียน มันจะมีความฟุ้งซ่านชนิดอื่นแทรกแซงเข้ามาในการทำงานระหว่างที่กำลังเขียนโปรแกรมนั่นแหละ

ถ้าหากว่าเรารู้ไม่ทัน แล้วเราเพิกเฉยปล่อยให้มันฟุ้งซ่านไป คลื่นความฟุ้งซ่านในเรื่องส่วนตัวมันจะเข้ามาผสมกับความฟุ้งซ่านในแบบโปรแกรมเมอร์ มันจะกลายเป็นฟุ้งไม่หยุด เพราะฉะนั้นทางออกที่ดีที่สุดก็คือ ต้องรู้ตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าขณะนี้ความฟุ้งซ่านกำลังเกิดขึ้นแทรกแล้วถ้าหากว่าคุณมีฟุ้งซ่านจัดๆ คุณควรจะผันไปทำงานหรือไปคิดอะไรในส่วนที่มันละเอียดๆ พูดง่ายๆ คือทำงานให้ช้าลง ให้คลื่นความคิดมีความถี่น้อยลง

แต่ถ้าหากเมื่อไหร่คุณเฉื่อย คุณควรเร่งทำงานหรือว่าทำในส่วนที่ยาก เขียนในบล็อกที่กำลังต้องการความท้าทายความสามารถ อันนี้จะเปลี่ยนจากความเฉื่อยเป็นความกระตือรือร้นขึ้นมามันจะสับกัน

พูดง่ายๆ ถ้าฟุ้งซ่านมากๆ ห้ทำงานช้าๆ ให้คิดละเอียดๆ แต่ถ้ากำลังเฉื่อยชาให้ทำงานเร็วๆ เสร็จหลายๆอย่างในเวลาเดียวกันแล้วก็ยากๆ ด้วย

:arrow: 5.ความสงสัยลังเลไม่แน่ใจ โปรแกรมเมอร์มีข้อได้เปรียบกว่างานประเภทอื่นๆงานประเภทอื่นเวลาที่เกิดความลังเลไม่แน่ใจในตัวเองขึ้นมา มันจะชวนให้ไม่รู้สึกอยากทำอะไรเลย ไม่อยากตัดสินใจ ไม่อยากลงมือเริ่มต้นเพราะกลัวความผิดพลาด แต่โปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่เริ่มต้นทำงานขึ้นมามักจะรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะต้องไปคิดแก้โจทย์ แก้ปัญหาอะไรที่มันท้าทายแล้วก็ไปสนุกกับการกำจัดปัญหานั้น

ถ้าหากว่าคุณเห็นความลังเลหรือว่าความสงสัย ความไม่มั่นใจในตัวเอง ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาหรือว่าหาความรู้เพิ่มเติม หรือว่าหาไอเดียที่จะมาเป็นแรงบันดาลใจ ตอนนี้ในอินเตอร์เน็ทมีแจกเยอะแยะ พวกซ้อดโค้ด หามาเป็นตัวยืนยันให้เกิดความเชื่อมั่นว่าเราทำได้เราแก้ปัญหานั้นได้เสมอ

สรุปคือ ถ้าไม่มีตัวบั่นทอนคุณภาพจิตทั้ง 5 ข้อนี้ คือความโลภ ความหงุดหงิด ความหดหู่ซึมเซา ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย ในที่สุดคุณทำงานโปรแกรมเมอร์คุณจะรู้สึกว่าทำอย่างมีสมาธิ ทำเพื่อการมีสมาธิจิตเป็นหลัก ไม่ใช่ทำเพื่อที่จะเอาผลตอบแทนหรือรางวัลที่มันล่อใจแบบโลกๆ


เครดิตบทความจาก:http://larndham.net/index.php?showtopic=34315
putcharaporn <3

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 127