ประกันสังคมจ่ายเงินได้ ในกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่เกิดจาก COVID-19 (มีผลใช้บังคับทางกฎหมายแล้ว)

พูดคุยเรื่องทั่วไป จับฉ่าย โหลดโปรแกรม หมวดนี้มีโปรแกรมให้โหลด แนะนำโปรแกรม ให้โหลด โปรแกรม ฟรีต่างๆ แนะนำ ค้นหา ดาวน์โหลดไปใช้ได้จากที่นี่ พุดคุยเรื่องทั่วไปคลายเครียด

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

ภาพประจำตัวสมาชิก
thatsawan
PHP VIP Members
PHP VIP Members
โพสต์: 28508
ลงทะเบียนเมื่อ: 31/03/2014 10:02 am
ติดต่อ:

ประกันสังคมจ่ายเงินได้ ในกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่เกิดจาก COVID-19 (มีผลใช้บังคับทางกฎหมายแล้ว)

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย thatsawan »

93770828_2892830320795773_6739152868265164800_o.jpg
93770828_2892830320795773_6739152868265164800_o.jpg (132.87 KiB) Viewed 534 times
ประกันสังคมสามารถทำการจ่ายเงินได้ ในกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย อันเกิดจากการระบาดของโรค COVID-19 (มีผลใช้บังคับทางกฎหมายแล้ว)
----------------
ซึ่งลูกจ้างที่ยื่นรับสิทธิ และนายจ้างยื่นหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างแล้วเมื่อทางประกันสังคมดำเนินการตรวจสอบข้อมูล (ทั้งนายจ้าง + ลูกจ้าง) จะสามารถทำการจ่ายเงินได้ทันที

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

กฎกระทรวง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานอันเนื่องจากการได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ พ.ศ. 2563
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q ... RfhE3FDLUo



กฎกระทรวง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย อันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q ... KC_qNuogF6

ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้ “เหตุสุดวิสัย” หมายความรวมถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคติดต่ออันตรายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ

ข้อ 2 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนตามกฎกระทรวงนี้

ข้อ 3 ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละหกสิบสองของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

ข้อ 4 ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย ถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานไม่สามารถทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเองหรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินก็ตาม ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละหกสิบสองของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

ข้อ 5 การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามข้อ 3 และข้อ 4 ให้จ่ายเป็นรายเดือน สำหรับเศษของเดือนให้คำนวณจ่ายเป็นรายวัน และให้นำบทบัญญัติมาตรา 57 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 มาใช้บังคับแก่การคำนวณค่าจ้างรายวัน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานด้วยโดยอนุโลม

ข้อ 6 ให้สำนักงานงดการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยแก่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อ

(1) ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง โดยให้สิ้นสุดการรับประโยชน์ทดแทนตั้งแต่วันที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง


(2) ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากสัญญาจ้างได้สิ้นสุดลงโดยให้สิ้นสุดการรับประโยชน์ทดแทนตั้งแต่วันที่สัญญาจ้างแรงงานได้สิ้นสุดลง

(สำหรับนายจ้าง) ดาวน์โหลดหนังสือรับรอง
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: Amazon [Bot] และบุคลทั่วไป 137