

รูปแบบการทำงานของ NAT เนื่องจากการทำงานของระบบและการใช้งานเครือข่ายมีหลากหลายรูปแบบ การทำ NAT จึงมีวิธีการหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานแบบต่างๆ โดยการทำ NAT แบบต่างๆ มีดังนี้คือ
Traditional NAT เป็นการทำ NAT แบบหนึ่งที่ออกแบบให้มีการเชื่อมต่อจากเครือข่ายภายใน ออกสู่เครือข่ายภายนอกเท่านั้น โดย outbound NAT แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ


Bi-Directianal NAT (Two-way NAT) เป็นการทำ NAT ที่สามารถเชื่อมต่อจากเครือข่ายภายนอกเข้ามายังเครือข่ายภายในได้ เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อจากเครือข่ายภายในออกไปยังเครือข่ายภายนอก ในการจับคู่หมายเลขไอพีแอดเดรสสามารถทำได้ทั้งแบบ static และ dynamic สำหรับการเชื่อมต่อจากต้นทางไปยังปลายทางนั้นจำเป็นต้องใช้ DNS ในการบอกหมายเลขไอพีในการเชื่อมต่อด้วยโดยเฉพาะในการทำงานแบบ Dynamic
Twice-NAT การทำงานของ Traditional NAT และ Bi-Directional NAT นั้นมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะค่าของหมายเลขไอพีแอดเดรสต้นทางหรือหมายเลขไอพีแอดเดรสปลายทางอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในการทำงานบางอย่างจำเป็นต้องมีการทำงานมากกว่านี้ เช่นในกรณีที่หมายเลขไอพีแอดเดรสภายในซ้ำกับหมายเลขไอพีแอดเดรสภายนอก ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอกได้ เพราะถือว่าเป็นการทำงานใน local เท่านั้น สำหรับปัญหานี้จำเป็นต้องมีการทำ NAT ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมายเลขไอพีแอดเดรสต้นทางและปลายทางพร้อมๆกัน ซึ่งต้องใช้การทำงานของ DNS มาช่วยในการเชื่อมต่อด้วย
Multihomed NAT จากการออกแบบเครือข่ายที่ทำให้ NAT เป็นเสมือนกับช่องทางเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอกเพียงช่องทางเดียวซึ่งทำให้เป็นจุดอ่อนในระบบ วิธีการแก้ปัญหานี้ก็สามารถทำได้โดยการออกแบบให้มี NAT มากกว่าหนึ่งในเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดต้องสามารถส่งข้อมูลสถานะการทำงาน เช่นข้อมูลการจับคู่หมายเลขไอพีแอดเดรส และต้องมีความสามารถในการสวิทช์การทำงานไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ได้ในกรณีที่มีอุปกรณ์หลักมีปัญหาได้