การใช้งานคำสั่ง SQL ในการ Create, Insert, Delete, Update

SQL Knowledge ทั้ง sql มาตรฐาน หลักการออกแบบฐานข้อมูล ความสัมพันธ์ของ ตาราง Mysql , PGSQL, Oracle, MSSQL

Moderator: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

Nes224
PHP Super Member
PHP Super Member
โพสต์: 441
ลงทะเบียนเมื่อ: 20/12/2021 11:36 am

การใช้งานคำสั่ง SQL ในการ Create, Insert, Delete, Update

โพสต์ที่ยังไม่ได้อ่าน โดย Nes224 »

วันนี้จะมาแชร์บทความความรู้เกี่ยวกับคำสั่ง SQL โดยใช้งานบน XAMPP หรือ PhpMyAdmin โดยคำสั่งพื้นฐานของ SQL ก็จะมีการ Create, Insert,Delete และการ Update ข้อมูล คำสั่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐานของการใช้งาน SQL ทั้งสิ้น เพื่อให้ไม่เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มลงมือทำกันเลย


ก่อนอื่นให้ทุกติดตั้งโปรแกรม XAMPP แล้วเปิดโปรแกรมขึ้น
ในส่วนของ Column module จะมีคำว่า Apache และ MySQL และจะสัเกตุที่ Column ของ Action ให้เราทำการกด Start ของ Apache และ MySQL ดังรูป
Open
Open
Xampp.jpg (72.69 KiB) Viewed 2874 times
จากนั้นที่ Row ของ MySQL ตรงคำว่า Admin ให้กด Admin เพื่อเข้าไป
ใช้งาน MySQL Phpmyadmin จากนั้นให้เรา Create Database มาสักตัวนึ่งดังรูป
Create
Create
Database.jpg (20.95 KiB) Viewed 2874 times
จากหัวข้อที่ได้เกริ่นนำไปแล้ว เราจะมาลงมือสร้าง Table กับโดยใช้คำสั่ง Create table ซึ่งมี pattern ดังนี้

โค้ด: เลือกทั้งหมด

CREATE TABLE (
	column1 datatype,
	column2 datatype,
	column3 datatype,
	.
	.
	.
	columnN datatype,
	PRIMARY KEY(one or more column)
)
Table
Table
Create.jpg (9.24 KiB) Viewed 2874 times
จากนั้นเราจะมาทำการ insert ข้อมูลลงไปที่ table กันดูโดยใช้คำสั่ง

โค้ด: เลือกทั้งหมด

insert into table_name (column1,column2,column3,..........,columnN)  VALUES (value1,value2,value3,..........,valueN);

เช่น

SQL.jpg
SQL.jpg (4.92 KiB) Viewed 2874 times
การ Update ข้อมูล

โค้ด: เลือกทั้งหมด

Update table_name
SET columnN = valueN
WHERE (Condition)
เช่น
Update.jpg
Update.jpg (3.49 KiB) Viewed 2874 times
และต่อมาเป็น delete ข้อมูลออกจาก table โดยการลบข้อมูลออกจาก table มีรูปแบบดังนี้

โค้ด: เลือกทั้งหมด

DELETE FROM table_name
WHERE(Condition);
เช่น
Delete.jpg
Delete.jpg (3.46 KiB) Viewed 2874 times
จะเห็นได้จากการที่เราลบ id = 4 ออก ซึ่งทำให้ใน table ของ employyee นั้น id ที่ 4 จึงได้หายไป


result.jpg
result.jpg (22.43 KiB) Viewed 2874 times
ในการ insert หลายๆค่าเราสามารถทำได้ดังนี้

โค้ด: เลือกทั้งหมด

insert into employyee (id,name,age,email) values(1,'joseph',24,'[email protected]')
insert into employyee (id,name,age,email) values(2,'meow',24,'[email protected]')
insert into employyee (id,name,age,email) values(3,'jojo',24,'[email protected]')
insert into employyee (id,name,age,email) values(4,'jotaro',24,'[email protected]')
insert into employyee (id,name,age,email) values(5,'jonathan',24,'[email protected]')
insert into employyee (id,name,age,email) values(6,'jonny',24,'[email protected]')
สรุป นี้เป็นหลักการเพียงเบื้องต้นในการเขียนคำสั่ง SQL โดยที่คำสั่ง CREATE TABLE เป็นการสร้าง table ขึ้น และคำสั่ง insert เป็นการ record ข้อมูลลงไปที่ table และการ update & delete เป็นความหมายตามคำที่ใช้ โดยในการใช้งาน SQL นั้นอย่างมีคำสั่งอีกมาก เช่น การ query, การใช้ operator, sub query เป็นต้น ซึ่งจะมาแชร์บทความเป็นอีกบทถัดๆไป

https://www.w3schools.com/sql/
https://searchdatamanagement.techtarget.com/definition/SQL
https://mode.com/sql-tutorial/introduction-to-sql/
  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 39