เชื่อว่าวัยทำงานหลายๆคนต้องคุ้นเคยกันดีกับการเสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือพนักงานที่ประกอบอาชีพแล้วมีรายได้ ภาษีที่เราจะพูดถึงกันก็คือ "ภาษีหัก ณ ที่จ่าย "
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไรหรอ ?
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีตรงที่ที่เรามีรายได้ แต่ภาษีในส่วนนี้เราไม่ได้เป็นผู้ที่ยื่นเสียภาษีเองทุกครั้ง เพราะผู้ที่ต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือผู้ที่จ่ายเงินให้กับเรานั่นเอง ซึ่งในทางกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าเราสามารถยื่นจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย นี้ได้ภายในวันที่ 7 ของเดือน ถัดไปนับตั้งแต่เรามีรายได้ก้อนนั้นเข้ามา แต่ถ้าหากว่าวันที่ 7 ของเดือนถัดไปนั้นเป็นวันหยุดราชการ เราก็สามารถเลื่อนวันที่เราต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกไปได้จนถึงวันแรกที่เปิดทำการหลังจากวันที่ 7 นั่นเอง (บุคคลธรรมดาไม่มีสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายใคร นะค่ะ แต่บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน สามารถ หัก ณ ที่จ่าย บุคคลได้)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นี้มี 2 แบบด้วยกัน คือ
1. หัก ณ ที่จ่าย นิติบุคคล คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัท จำกัดฯ เราต้อง ยื่นแบบ ภงด.53
2. หัก ณ ที่จ่าย บุคคลธรรมดา คือ หสม. ,ร้านค้า นาย... , นาง.... ,ทะเบียนพาณิชย์ (จัดเป็นบุคคลธรรมดาหมด) เราต้องยื่น ภงด.3
อัตราเปอร์เซ็นที่จะหัก ณ ที่จ่าย ทั้ง ภงด.53 และ ภงด.3 หัก เหมือนกัน โดยอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่สำคัญมีดังนี้
- หักภาษี ณ ที่จ่าย 1% สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจากค่าดอกเบี้ย, ค่าขนส่ง, ค่าเบี้ยประกันภัย
- หักภาษี ณ ที่จ่าย 2% สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจากค่าโฆษณา
- หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจาก ค่านายหน้า, ค่าลิขสิทธิ์, ค่าบริการ, รางวัล, ส่วนลด, รับจ้างทำงานให้, วิชาชีพอิสระ (อื่นๆ)
- หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจาก จากค่าเช่าทรัพย์สิน (เช่ารถพร้อมคนขับ), ค่าจ้างทำของ, รางวัลในการประกวด แข่งขัน ชิงโชค, นักแสดง นักกีฬา นักร้อง(ที่มีภูมิลำเนาในประเทศ)
- หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจากเงินปันผล, นักแสดง นักกีฬา นักร้อง (ที่มีภูมิลำเนาต่างประเทศ)
อ่านเพิ่มเติม »