ความน่าจะเป็น Probability (พลอบาบิลิตี้) ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ความน่าจะเป็น Probability (พลอบาบิลิตี้) ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ความน่าจะเป็น Probability (พลอบาบิลิตี้) ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

Probability (พลอบาบิลิตี้) ความน่าจะเป็นในการพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เราสนใจมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. ทำการทดลองสุ่มนั้นซ้ำๆ กัน เป็นจำนวนอนันต์ Infinity(อินฟิลิตี้)

ซึ่งจะสมมติให้
N แทน จำนวนครั้งของการทดลองสุ่ม
n แทน จำนวนครั้งของการเกิดเหตุการณ์ E ที่สนใจ
และ P(E) แทน ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ E ที่สนใจ
พบว่า อัตราส่วน n/N จะบอกให้ทราบว่าเหตุการณ์ E ที่สนใจ มีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด

ดังนั้น
P(E)= limit ของ n/N เมื่อ N เข้าสู่ infinity
ซึ่งเราจะพบว่า จำนวนครั้งที่ทำการทดลองสุ่มยิ่งมากเท่าใด ก็จะได้ความน่าจะเป็นที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

2. ใช้วิธีการหาความน่าจะเป็นโดยการคำนวณจากแซมเปิลสเปซและเหตุการณ์ที่สนใจของการทดลองสุ่มนั้น โดยหาอัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของเหตุการณี่สนใจกับจำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซ โดยแซมเปิลสเปซที่ใช้ในการคำนวณจะต้องเป็นเซตจำกัดและประกอบด้วยสมาชิกที่มีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆ กัน

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ข้อกำหนด
n(S) แทน จำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซ S ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน
n(E) แทน จำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ E ซึ่งเป็นสับเซตของ S
และ P(E) แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E

ดังนั้น
P(E) = n(E) / n(S)

หมายเหตุ ข้อกำหนดนี้ ใช้คำนวณความน่าจะเป็นของเหตุการณ์จาดแซมเปิลสเปซที่เป็นเซตจำกัด และสมาชิกแต่ละตัว มีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่าๆกัน
ในอีกทางหนึ่ง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ คือ จำนวนที่บิกให้ทราบว่าตุการณ์ที่เราสนใจมีดอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด กล่าวคือ ถ้า
P(E) = 0 เหตุการณ์ E จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย
P(E) = 1 เหตุการณ์ E มีโอกาสเกิดขึ้นแน่นอน
P(E) = 0.5 เหตุการณ์ E จะมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นได้เท่าๆ กัน
P(E1) = 0.4 และ P(E2) = 0.8 เหตุการณ์ E2 มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าเหตุการณ์ E1 นั่นแสดงว่า P(E) มีค่าตั้งแต่ 0-1

ตัวอย่างที่ 1 ในการหยิบไพ่มา 1 ใบ จากไพ่ 1 สำรับ ซึ่งมี 52 ใบ จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ไพ่ใบนั้นเป็นโพดำ

วิธีทำ สมมติให้ E แทน เหตุการณ์ที่ได้ไพ่ใบนั้นเป็นโพดำ
และ S แทน แซมเปิลสเปซ
จะได้ n(E) = 13
และ n(S) = 52
จากสูตร P(E) = n(E) / n(S)
จะได้ P(E) = 13 / 52
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้ไพ่ใบนั้นเป็นโพดำเท่ากับ 13/52

ตัวอย่างที่ 2 ถ้าหยิบลูกหิน 3 ลูกจากกล่องที่มีลุกหินสีน้ำเงิน 4 ลูก และสีแดง 7 ลูก จงหาความน่าจะเป็นที่หยิบได้ลูกหินสีน้ำเงิน 3 ลูก

วิธีทำ
1. การหยิบลูกหิน 3 ลุก จากหินทั้งหมด 11 ลูก จะสามารถทำได้ C(11, 3) = 165 วิธี
แสดงว่า n(S) = 165

2. การหยิบลูกหิน 3 ลูก แล้วหยิบได้ลูกหินสีน้ำเงิน 3 ลูก สามารถทำได้ C(4, 3) = 4 วิธี
แสดงว่า n(E) = 4

จากสูตร จะได้ P(E) = 4 / 165

ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่หยิบได้ลูกหินสีน้ำเงิน 3 ลูก เท่ากับ 4/165

:: เราสามารถนำการคำนวณความน่าจะเป็นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

 

กระทู้ล่าสุดจากเว็บบอร์ด
หัวข้อกระทู้
ตอบ
เปิดดู
ล่าสุด
ภาษา Lua ตอนที่ 7 : ชนิดข้อมูล Table (2)
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 4:02 pm บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
770
พฤ 18 ม.ค. 2024 4:02 pm โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 7 : ชนิดข้อมูล Table (2)
ภาษา Lua ตอนที่ 6 : ชนิดข้อมูล Table (1)
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 3:34 pm บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
345
พฤ 18 ม.ค. 2024 3:34 pm โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 6 : ชนิดข้อมูล Table (1)
การใช้งานโปรแกรมเครื่องคิดเลขโอเพนซอร์ส Qalculate! สำหรับคำนวณสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 3:10 pm บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
244
พฤ 18 ม.ค. 2024 3:10 pm โดย worramaitk View Topic การใช้งานโปรแกรมเครื่องคิดเลขโอเพนซอร์ส Qalculate! สำหรับคำนวณสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
รีวิวเครื่องปริ้นสำนักงานที่ใช้กันหน่อยค่ะว่าดีไหม พอดีอยากได้เครื่องปริ้นใหม่ค่ะ
โดย Narisara พฤ 18 ม.ค. 2024 1:29 pm บอร์ด ถาม - ตอบ คอมพิวเตอร์
5
656
ศ 26 ม.ค. 2024 12:33 pm โดย noncup302 View Topic รีวิวเครื่องปริ้นสำนักงานที่ใช้กันหน่อยค่ะว่าดีไหม พอดีอยากได้เครื่องปริ้นใหม่ค่ะ
ภาษา Lua ตอนที่ 5 : ชนิดข้อมูล Number
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 1:14 pm บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
251
พฤ 18 ม.ค. 2024 1:14 pm โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 5 : ชนิดข้อมูล Number
ภาษา Lua ตอนที่ 4 : ชนิดข้อมูล String
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 12:32 pm บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
217
พฤ 18 ม.ค. 2024 12:32 pm โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 4 : ชนิดข้อมูล String
ภาษา Lua ตอนที่ 3 : ชนิดข้อมูล nil กับ boolean
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 11:34 am บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
222
พฤ 18 ม.ค. 2024 11:34 am โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 3 : ชนิดข้อมูล nil กับ boolean
ภาษา Lua ตอนที่ 2 : พื้นฐานตัวแปร
โดย worramaitk พฤ 18 ม.ค. 2024 10:56 am บอร์ด Microsoft Office Knowledge & line & Etc
0
221
พฤ 18 ม.ค. 2024 10:56 am โดย worramaitk View Topic ภาษา Lua ตอนที่ 2 : พื้นฐานตัวแปร